Publication Ethics
จริยธรรมของผู้นิพนธ์บทความ
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเป็นบทความของผู้นิพนธ์ และหากมีผู้ร่วมนิพนธ์ในบทความ ผู้ร่วมนิพนธ์ทุกคนต้องได้อ่านและยินยอมให้มีการส่งบทความมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมาเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่น
- หากผู้นิพนธ์มีการนำแนวคิด ข้อความต่างๆ บทความของผู้อื่น ซึ่งไม่ใช่ของผู้นิพนธ์ มาเป็นส่วนหนึ่งของบทความ ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงในเนื้อหาและในรายการบรรณานุกรม
- ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบในการขออนุญาตใช้ภาพ แผนภูมิ หรือขอลิขสิทธิ์จากผู้ถือลิขสิทธิ์นั้น ทุกกรณี
- ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และสาระในบทความอย่างถูกต้อง ชัดเจน ซื่อสัตย์ โดยไม่มีการดัดแปลงข้อมูล และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว
- ผู้นิพนธ์จะต้องเปิดเผยแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยหรือการเขียนบทความ (ถ้ามี)
- ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งอาจมีกระทบสำคัญต่อเนื้อหาในบทความ ไว้ในบทความให้ชัดเจน
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ในคำแนะนำสำหรับการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
- ผู้นิพนธ์มีหน้าที่แจ้งต่อวารสารทันทีอย่างเร่งด่วน หากพบว่ามีข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญในผลงานวิจัยที่นำเสนอในบทความภายหลัง หรือพบความไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ในผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ เพื่อรับการพิจารณาปรับแก้บทความหรือถูกต้องหรือพิจารณาถอดถอนบทความ
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความต้องรักษาความลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต่อบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความนั้น
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ จะต้องไม่นำบทความที่ตนเองเป็นผู้ประเมินไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว บุคคลอื่นใด หรือองค์กรใด
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ ต้องเปิดเผยข้อมูลและผลประโยชน์ทับซ้อนของบทความ เช่น เป็นผู้มีส่วนร่วมในบทความหรืองานวิจัยนั้น รู้จักและสนิทสนมกับผู้นิพนธ์จนเกิดความลำเอียง หรือเหตุผลอื่นใดที่ไม่อาจพิจารณาประเมินบทความโดยอิสระได้ ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ และถอนตัวจาการเป็นผู้พิจารณาประเมินบทความ
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ ควรรับพิจารณาบทความในสาขาวิชาที่มีความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตามหลักวิชาการในศาสตร์ของตน และควรประเมินผลงานด้วยความเป็นธรรมและปราศจากอคติ ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ ควรส่งผลการประเมินภายตามระยะเวลาที่วารสารกำหนด หากมีเหตุขัดข้องในช่วงระยะเวลาที่รับการพิจารณา ต้องดำเนินการแจ้งบรรณาธิการทราบทันที
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบว่าบทความที่รับพิจารณามีส่วนหนึ่งส่วนใดที่คล้ายคลึง หรือมีเนื้อหาทับซ้อน หรือเหมือนกับบทความที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
จริยธรรมของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการมีหน้าที่ในการพิจารณา บทความมีความสอดคล้องกับนโยบายและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารกำหนดไว้ และตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อนการรับเพื่อเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองพิจารณาตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสาร
- บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในผลงาน ทั้งกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ และบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างทุกฝ่าย รวมถึงบุคคลในกองบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องควบคุมกระบวนการพิจารณาบทความด้วยความยุติธรรม ทั้งนี้ ต้องดำเนินการโดยปกปิดข้อมูลของ ผู้นิพนธ์ ผู้นิพนธ์ร่วม และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงาน (Double-Blind Process)
- บรรณาธิการจะต้องคัดเลือกบทความที่รับตีพิมพ์ โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานซึ่งได้ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงาน และผ่านกระบวนการกลั่นกรองอื่นตามขั้นตอนของวารสารแล้ว รวมทั้งเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
- บรรณาธิการต้องตรวจสอบด้วยความรอบคอบกับบทความที่มีเหตุอันชวนสงสัยว่า เป็นบทความที่มีการกระทำผิดจริยธรรมทางวิชาการ แม้ว่าบทความนั้นจะได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์หรือไม่ ทั้งนี้ ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน หากมีการปฏิเสธบทความด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม