เปรียบเทียบเชิงวิเคราะห์หลักเบญจศีล ข้อที่ 3 กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • กิตติ ภูผา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โสวิทย์ บํารุงภักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เบญจศีล ข้อที่ 3, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักเบญจศีล ข้อที่ 3 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเชิงวิเคราะห์หลักเบญจศีล ข้อที่ 3 กับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการศึกษาพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และเอกสารวิชาการทางกฎหมาย แล้วนําเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หลักเบญจศีล ข้อที่ 3 กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณีคือ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย อันเป็นการประพฤติไม่ชอบทางกาย และเป็นหลักธรรมประจําสังคมของมนุษย์ซึ่งก่อให้เกิดความเคารพสิทธิ์ในบุคคลที่เป็นที่รักที่หวงแหนของผู้อื่น สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับสถาบันครอบครัว สร้างความสมัครสามัคคีกัน และไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในสังคม ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กําหนดหน้าที่ของสามีภริยาตามมาตรา 1461 หากสามีภริยาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกระทําผิดหน้าที่ก็เป็นเหตุให้อีกฝ่ายฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) และเรียกค่าทดแทนตาม มาตรา 1523 ได้ เมื่อเปรียบเทียบเชิงวิเคราะห์หลักเบญจศีล ข้อที่ 3 กับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วทําให้ทราบว่า ความเป็นสามีภรรยาตามหลักเบญจศีล ข้อที่ 3 มีความหมายคลอบคลุมสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การละเมิดตามหลักเบญจศีล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20