สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคดีศาลสูงภาค 4

ผู้แต่ง

  • อรนุช กบรัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เรียงดาว ทวะชาลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธงชัย สิงอุดม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยในการปฏิบัติงาน, สมรรถนะการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยในการปฏิบัติงาน 2) ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการปฏิบัติงานกับสมรรถนะการปฏิบัติงาน และ 4) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บุคลากรสำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 และสำนักงานอัยการภายใต้การบริหารงานด้านการดำเนินคดีชั้นศาลสูง จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญหลัก จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา อธิบายในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน 2. ระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม และด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ กับด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3. ความสัมพันธ์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคดีศาลสูงภาค 4 ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 4. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ ควรสร้างความพึงพอใจโดยให้ปฏิบัติงานตามความถนัดและตรงสายงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20