การประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 เพื่อการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็ก ในเขตอําเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ละอองทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กุศล ศรีสารคาม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พรหมวิหาร 4, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ พรหมวิหาร 4 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ การประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ครูผู้ดูแลเด็กที่ ปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จํานวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสําเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านเมตตา รองลงมา คือ ด้านอุเบกขา และด้านกรุณา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านมุทิตา 2. ค่าเฉลี่ยของการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4  ที่มีอายุ และประสบการณ์การทํางานต่างกัน ด้านเมตตา ด้านกรุณา ด้านมุทิตา ด้านอุเบกขา และโดยรวม ไม่แตกต่างกัน และค่าเฉลี่ยของการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 ที่มีตําแหน่งต่างกัน ด้านเมตตา ด้านกรุณา ด้านอุเบกขา และโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านมุทิตา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าพนักงานตามภารกิจ อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้พรหมวิหาร 4 ที่พบว่า 1) ด้านเมตตา ครูผู้ดูแลเด็กควรมีความโอบอ้อมอารี ต่อเด็กนักเรียนทุกระดับชั้น ทุกคนตลอดจนผู้ปกครองของนักเรียนทุกคน 2) ด้านกรุณา ครูผู้ดูแลเด็กควรให้ความช่วยเหลือนักเรียนทุกคน 3) ด้านมุทิตา ครูผู้ดูแลเด็กควรย่องชมเชย แสดงความยินดี 4) ด้านอุเบกขา ครูผู้ดูแลเด็กควรปกครองเด็กนักเรียนในชั้นเรียนด้วยความเป็นธรรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31