จิตอาสากับบทบาทการอนุรักษ์และการจดการป่าชุมชน กรณีศึกษาภูเตาโปง ป่าชุมชนบ้านบุ่งกุ่ม ต.นาหอ อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ผู้แต่ง

  • พยุงพร ศรีจันทวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สาคร พรหมโคตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

: จิตอาสา, การอนุรักษ์และการจัดการป่า, ป่าชุมชน, ภูเตาโปง.

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอบทบาทของจิตอาสาป่าชุมชนบ้านบุ่งกุ่มต่อการขออนุญาตเพื่อจัดตั้งป่าชุมชน การอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชนภูเตาโปง บ้านบุ่งกุ่ม อ.ด่านซ้าย จ.เลย โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม และการจัดการป่าชุมชน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า จิตอาสาป่าชุมชนบ้านบุ่มกุ่ม เป็นกลุ่มของคนหนุ่มในหมู่บ้านที่เข้าไปทํางานในเมืองหลวง หวนกลับบ้านเกิด พบเห็นความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติภูเตาโปงซึ่งเป็นป่าที่บรรพบุรุษได้สละพื้นที่เพื่อให้เป็นป่าตามโครงการอีสานเขียว ผลจากการสํารวจพบพื้นที่ป่าต้นน้ำถูกบุกรุก ส่งผลให้น้ำในซําต่างๆ เหือดแห้ง แหล่งอาหารและสมุนไพรลดน้อยลง กลุ่มจิตอาสาร่วมจึงเกิดแนวคิดที่จะขออนุญาตต่อกรมป่าไม้เพื่อจัดตั้งเป็นป่าชุมชนขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ในการดําเนินการได้พบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ แต่กลุ่มจิตอาสาได้มีกระบวนต่อสู้โดยการสร้างเครือข่ายกับชุมชน สังคมภายนอก ตลอดจนการร้องขอภาครัฐเพื่อนําเสนอปัญหาในพื้นที่ผลการของต่อสู้ และต่อรองในรูปแบบต่างๆ ชุมชนได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้จัดตั้งป่าชุมชน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ทําให้มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย มีบริหารจัดการในรูปแบบกรรมการป่าชุมชน มีกฎระเบียบโดยชุมชน มีกิจกรรมและ รูปแบบในการจัดการทรัพยากรธรรมขาติอาทิเช่น กิจกรรมการสร้างสํานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการในท้องถิ่น และในงานประชุมสัมมนาระดับชาติกิจกรรมการใช้ผลประโยชน์จากป่าชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีจิตสํานึกในการอนุรักษ์ป่าชุมชน มีความภาคภูมิใจในผืนป่าที่บรรพบุรุษได้เสียสละพื้นที่เพื่อเป็นป่าอนุรักษ์ส่งผลให้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ โครงการ “คนรักป่า ป่ารักษ์ชุมชน ประจําปี 2559 โดยกรมป่าไม้ร่วมกับบริษัทไฟฟ้าโฮลดิ้งจํากัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31