การใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระครูปรีชาธรรมสถิต (ขึ้นเสียง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระประภาส ปญฺญาคโม

คำสำคัญ:

ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม, บุคลากร, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมในการปฏิบัติงานบุคลากร 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมในการปฏิบัติงานบุคลากรโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Research)โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นจำนวน 400 คน โดยการหากลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยการเปิดตารางการสุ่มตัวอย่างของเครซี่ (Krejcie) และมอร์แกน(Moregan) ได้กลุ่มตัวอย่าง 201 คน และใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และแบบตามสะดวก (Convenience Random Sampling)และทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 5 คนโดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ถึง เดือน มีนาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม(Questionnaire) และแบบสัมภาษณ์(Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t - test (Independence Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ( =4.83) โดยในรายด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดถึงต่ำสุด ได้ดังนี้ ด้านอารักขสัมปทา (รักษาดี) ( =4.85) ด้านกัลยาณมิตตตา (กัลยาณมิตร) (   = 4.84) ด้านสมาชีวิตา (ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง) (   = 4.82) และด้านอุฏฐานสัมปทา (การขยันหา) (   = 4.80 )
  2. บุคลากรที่มีเพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่ง อายุงานต่างกัน มีการใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้นบุคคลากรที่มีอายุแตกต่างกันใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมด้านอารักขสัมปทาแตกต่างกัน
  3. แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม คือ ด้านขยันหาผู้บริหารควรจัดให้มีการฝึกอบรมพัฒนาการเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บุคคลากรควรที่จะมีความขยันและปรับวิธีการทำงานให้ทันสมัยและเกิดประโยชน์สูงสุดด้านการรักษาดี ผู้บริหารควรสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรในการช่วยกันดูแล รักษาทรัพย์สินของทางราชการ และรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อทางราชการมากที่สุดอย่างคุ้มค่าและประหยัดด้านกัลยาณมิตร ผู้บริหารควรคำนึงถึงการทำงานเป็นทีมของหน่วยงาน บุคลากรคือผู้ให้บริการประชาชน และการเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการให้บริการและการประสานงาน สามารถให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้านดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ผู้บริหารควรที่จะให้คำแนะนำ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติและปรับใช้ในการดำรงชีวิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31