การนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปปรับปรุงสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพการศึกษา, สถานศึกษา, มาตรฐาน

บทคัดย่อ

      การประกันคุณภาพการศึกษาถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาทุกระดับมีคุณภาพและมาตรฐาน กระทรวงศึกษาธิการจึงให้มีการปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีนโยบายปรับปรุงมาตรฐาน และตัวชี้วัดให้มีจำนวนน้อยลง กระชับและสะท้อนถึงคุณภาพอย่างแท้จริง เน้นการประเมินตามสภาพจริง ไม่ยุ่งยาก สร้างมาตรฐานระบบการประเมินเพื่อลดภาระการจัดเก็บข้อมูล ลดการจัดทำเอกสารที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งพัฒนาผู้ประเมินให้มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ สามารถให้คำชี้แนะ และให้คำปรึกษาแก่สถานศึกษาได้ บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอเนื้อหา การนำผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปปรับปรุงสถาน ศึกษา การประกันคุณภาพสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก กระบวนการประกันคุณภาพโรงเรียนจะต้องมุ่งเน้นที่การตรวจสอบผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ คุณสมบัติของคนไทยที่พึงประสงค์เป็นสำคัญ โดยมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกควรจะต้องสอดคล้องหรือเป็นเกณฑ์เดียวกันกับเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในและจะต้องไม่สร้างภาระงานเพิ่มกับผู้ถูกประเมิน ซึ่งข้อดีการนำรูปแบบการประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21 ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาไทย ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานด้านคุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาและมาตรฐานด้านผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล จะทำให้มีความสอดคล้องกันของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและระบบประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-31