การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบนฐานของทุนวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุรดา แก้วศรีหา -
  • เอกราช โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แหล่งเรียนรู้, ทุนวัฒนธรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

      บทความนี้ต้องการที่จะนำเสนอให้เห็นว่าการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนบนฐานของทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นไปได้อย่างไร ในการจัดแหล่งเรียนรู้ควรให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนของผู้เรียนเอง นั่นคือ ความรู้ต้องบูรณาการกับชีวิตในชุมชน ความรู้ที่แท้จริงต้องมีการบูรณาการทั้งการปฏิบัติ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมและรอบรู้ในชุมชนที่ตนอยู่อาศัย และการมีส่วนร่วมในชุมชนเป็นการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ การได้ร่วมลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน มีผลทั้งต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเองและทำ ให้ชุมชนกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ เมื่อชาวบ้านชนบทในทุกภาคได้ปรับประยุกต์วัฒนธรรม นำมาผสมกลมกลืนกับภูมิปัญญาท้องถิ่นย่อมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการพัฒนาบนพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิถีชีวิตบนรากฐานของการรู้จักช่วยตนเอง พึ่งตนเองให้สามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดเป็นชุมชนเข้มแข็งที่จะดำเนินชีวิตได้ด้วยภูมิปัญญาของตนเองได้ต่อไปซึ่งเราตระหนักถึงความสำคัญบทบาทของห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาในการอนุรักษ์และให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-31