การศึกษากลวิธีการโค้ชเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาจีน

ผู้แต่ง

  • เบญจมาภรณ์ ฤาไชย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ลลิตพรรณ ปัญญานาค สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

บทคัดย่อ

ผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ต้องไม่เพียงแค่บรรยายหรือถ่ายทอดความรู้เท่านั้น ดังที่ นันทนา กะหมายสม 2559 กล่าวไว้ว่า หน้าที่ของครูที่แต่เดิมเป็นเพียงผู้ให้ความรู้จะถูกปรับเปลี่ยนไปสู่กระบวนการให้ทักษะ บทบาทของครูเปลี่ยนจากครูเป็นหลัก เป็นผู้เรียนเป็นหลักแทน การสอนให้น้อยแต่ให้เกิดการเรียนรู้ที่มาก (TEACH LESS, LEARN MORE) นี่ก็คือปัญหาที่อาจารย์ผู้สอนยุคเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 จะต้องหาคำตอบให้ได้ว่าเราควรจะทำอย่างไร  บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดกลวิธีการโค้ช (Coaching) และการจัดการเรียนการสอนภายใต้แนวคิดกลวิธีการโค้ช 2) เพื่อนำแนวคิดการจัดการเรียนการสอนภายใต้กลวิธีการโค้ช มาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า กลวิธีการโค้ชสามารถสร้างแรงบันดาลใจและสร้างความกระตือรือร้นของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี หากใช้แนวคิดกลวิธีการโค้ชมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน จะส่งผลให้ผู้เรียนจะเกิดแรงบันดาลใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาจีน โดยต้องอาศัยการพัฒนาร่วมกัน 3 ด้าน คือ 1) ด้านบทบาทของผู้สอน ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นเพียงครูหรือผู้บรรยาย (Teacher) มาเป็นโค้ช (Coach) 2) ด้านบทบาทของผู้เรียน ผู้เรียนภาษาจีนยุคใหม่ต้องถือคติ “3 ป 4 ก” 3 ป คือ  เปิดใจ ปรับตัว และเปลี่ยนแปลง 4 ก คือ กล้าคิด กล้าสงสัย กล้าถาม และกล้าแลกเปลี่ยน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยการเปลี่ยนห้องเรียน (Classroom) ให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing Space)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01