การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ดิเรกฤทธิ์ ยุเหล็ก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช, ประเทศไทย
  • ทิพมาศ เศวตวรโชติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช, ประเทศไทย
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

อิทธิบาท 4, การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้หลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบ    การใช้หลักอิทธิบาท 4 และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของผู้บริหารและครู  สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 225 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย t-test และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว One way Anova
      ผลการวิจัย พบว่า
     
1. ระดับการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
      2. ผลการเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ตามพบว่าอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่ง ไม่แตกต่างกัน
      3. ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนรู้ของครูและการนำสื่อมาใช้กับผู้เรียนมีการสร้างแบบวัดและประเมินผลที่เกิดจากความต้องการของครูและผู้เรียนที่เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาแบบรอบด้าน รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ต้องนิเทศการสอนเพื่อให้ครูเกิดการพัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31