แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน

ผู้แต่ง

  • สุวิมล จอดพิมาย มหาวิทยาลัยคริสต์เตียน
  • มยุรี กมลบุตร มหาวิทยาลัยคริสต์เตียน
  • พิชชานันท์ กันพุ่ม มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน 2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน  3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย อาจารย์และผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน นำหลักการ วงจรคุณภาพ PDCA มาใช้ในการดำเนินการ 6 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน มีเกณฑ์ดำเนินการในระดับปริญญาตรี 5 ข้อ ระดับปริญญาโท 10 ข้อ องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต มี 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา มี 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ 3 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มี 1 ตัวบ่งชี้ 2) วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร การวางแผนกลยุทธ์ การมุ่งเน้นนักศึกษา การมีส่วนร่วมของบุคลากรกระจายความรับผิดขอบ การจัดการความรู้  ใช้ระบบการบริหารคุณภาพ และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3) แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน ประกอบด้วย (1) สร้างภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ (2) ส่งเสริมการวางแผนกลยุทธ์ (3) ให้นักศึกษามีสมรรถนะเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และทำงานเพื่อสังคม (4) มุ่งเน้นศักยภาพบุคลากร สร้างการมีส่วนร่วม และเสริมพลังอำนาจ (5) การจัดการความรู้ (6) การบริหารคุณภาพ ยืดหยุ่น และแก้ปัญหาความขัดแย้ง (7) การจัดทำสารสนเทศเพื่อการบริหารที่ทันสมัย สร้างเครีอข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มสมรรถนะการพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษา

References

กิตติยา สีอ่อน. (2547). โมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสำหรับกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. (2563). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะีการศึกษา 2562. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์.

ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

ลักขณา จาตกานนท์ และคณะ. (2554). การพัฒนาการบริหารงานประกัน คุณภาพการศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัยเสนอต่อคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุภัทรา เอื้อวงศ์ โสภิดา ทะสังขา กมลรัตน์ วัชรินทร์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยสยาม.ประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประจำปี 2557.

สมสิทธิ์ สองประสม. (2550). การศึกษาทัศนคติของพนักงานต่อระบบประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สารนิพนธ์โครงการวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

อุทุมพร จามรมาน. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร.กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกธิป สุขวารี. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุคาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cheng, M. (2010). Audit cultures and quality assurance mechanisms in England: A study of their perceived impact on the work of academics. Teaching in HE, 15(3), 259–271.

Hou, A. (2012). Mutual recognition of quality assurance decisions on HE institutions in three regions: A lesson for Asia. HE, 64(6),911–926.

Lomas, L. (2003). Embedding quality: The challenges for HE. Paper presented at the European Conference on Educational Research, University of Hamburg.

Varonism, E. M. (2014). Most courses are not born digital: An overview of the Quality Matters peer review process for online course design. Campus-Wide Information Systems. 31(4),217–229.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03