การพัฒนากิจกรรมวิถีพุทธเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุ ชุมชนวัดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
กระแสการเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย ส่งผลให้ผู้สูงอายุกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของไทย และพบว่าปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ คือ ปัญหาด้านสุขภาวะจิต พระพุทธศาสนาในฐานะเป็นที่พึ่งหลักทางด้านจิตใจที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักการในการเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุได้ จากการลงพื้นที่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงความต้องการของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่าง จึงได้กำหนดเป็นวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการจัดกิจกรรมวิถีพุทธเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมวิถีพุทธเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุ 3) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมวิถีพุทธเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง 22 คน กำหนดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนากิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม 2) คู่มือจัดกิจกรรม 3) แบบสังเกตพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 1 กำหนดมโนทัศน์ ขั้นที่ 2 รวบรวมสาระเนื้อหา ขั้นที่ 3 วิเคราะห์/สังเคราะห์จำแนกกลุ่มข้อมูล นำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุต้องการให้มีการจัดกิจกรรมเสริมทักษะวิชาชีวิตสร้างสุขภาวะจิตเพื่อความสงบสุขของชีวิตบั้นปลาย 2) การพัฒนาคู่มือสำหรับการจัดกิจกรรม มีการกำหนดสาระสำคัญ วัตถุประสงค์ ลักษณะและการวัดประเมินผลกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมตักบาตร เติมบุญ กิจกรรมรู้จักใจ รู้จักธรรม กิจกรรมเพื่อนบ้าน เพื่อนใจ กิจกรรมค้นคว้าตน ค้นคว้าธรรม กิจกรรมถอดบทเรียน ถอดธรรม เมื่อวันวาน 3) ผลการทดลองใช้กิจกรรมทำให้ทราบว่าการสร้างความร่วมมือให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดการเปิดใจและรับฟังอย่างลึกซึ้ง ทุกกิจกรรมสามารถเสริมสร้างสุขภาวะจิตของผู้สูงอายุได้ จากการประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ความพร้อมของสุขภาพทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรม
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพมหานคร : กรมกิจการผู้สูงอายุ.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือ ความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เจริญพงษ์ วิชัย. (2564). พัฒนาการแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 85-102.
ฐิติยา เนตรวงษ์ และคณะ. (2562). การใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 15(1), 50-62.
นิวัฒน์ พุฒวันเพ็ญ. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุตามหลักพุทธธรรม. ในวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร. (2560). การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 78-88.
ภัทรธิรา ผลงาม และคณะ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเลย. วารสารประชากรศาสตร์, 36(1), 51-66.
วิบูลย์ บุญยธโรกุล. (2545). คู่มือวิทยากรและผู้จัดฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธา
การพิมพ์.
สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ และคณะ. (2563). สูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยง : การสร้างนักสื่อสารสุขภาวะสูงอายุที่รู้เท่าทันสื่อ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(3), 174-191.
สุนิสา ค้าขึ้น และคณะ. (2563). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 150-163.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร : กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อรรถพล เกิดอรุณสุขศร และคณะ. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บนพื้นฐานของปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนทางสังคม. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2), 85-96.