การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การพัฒนาท้องถิ่น,, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ และ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 2,183 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการนำประชากรมากำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยสรุปในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 2.99 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการรับผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3.41 รองลงมา ด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ย 3.40 ด้านการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 2.75 และด้านการดำเนินการ มีค่าเฉลี่ย 2.40 และ (2) ข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนให้มากยิ่งขึ้น ควรส่งเสริมให้ประชาชนร่วมวางแผนนโยบายหรือแผนงานตามโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจ้างเหมาโครงการหรือกิจกรรมที่ อบต. จัดทำ ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมสนับสนุนทรัพยากรส่วนตัวให้แก่ อบต. เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2557). การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาและการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และ อบต.กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กุสุมา เขียวเพกา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, เรียกใช้เมื่อจาก http://mapol.soc.ku.ac.th/wp-content/uploads/2022/20/08.pdf.
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2549). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาส์น. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. เรียกใช้เมื่อจาก https://www.bora.dopa.go.th/
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร. (2562). แนวคิดพื้นฐานเพื่อการบริหารและการพัฒนา. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชาติ พริกเล็ก. (2565). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(4).
อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
Cohen, J. and Uphoff, N. (1980). Participation’s Place in Rural Development: SeekingClarity through Specificity. World Development, 8.