การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม,, การพัฒนาคุณภาพชีวิต,, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และ 2) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดจำนวน 1,333 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการนำประชากรมากำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครทซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.27) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ( = 3.52) รองลงมาคือ ด้านความมั่นคงทางสังคมครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ( =3.51) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านที่พักอาศัย ( = 2.93) และ (2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ 1) ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาล 2) ควรจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ และจัดตั้งกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ จัดบริการครอบครัวอุปการะผู้สูงอายุ จัดสวนสุขภาพและลานออกกำลังกาย มีการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้สูงอายุ และจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและเครือข่ายผู้สูงอายุ
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน). กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
ดุจฤดี คงสุวรรณ์ และวรรณะ รัตนพงษ์. (2554). ประชากรและสังคมโลก. คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จรัญญา วงษ์พรหม. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(3), 41-54.
วันทนีย์ วาสิกะสิน และสุรางค์รัตน์ วศินารมณ์. (2557). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชรินทร์ เสมามอญ. (2556). การมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการสาหรับสูงอายุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิจิตร ระวิวงศ์. (2534). อนาคตของสวัสดิการสังคมไทยในปัจจุบัน. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สวัสดิการสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา (อัดสาเนา).
วิไลลักษณ์ ตั้งเจริญ. (2544). คุณภาพชีวิตของคนไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนาวิชาการมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
พระครูวินัยธรอำนาจ พลปญฺโญ. (2561). ปัญหาและหลักการพัฒนาคุณภาพชีวิตในศตวรรษที่ 21, 3(2), 25-35.
บุญชม ศรีสะอาด. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : สุวิริยาสาส์น.
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร. (2562). แนวคิดพื้นฐานเพื่อการบริหารและการพัฒนา. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณี ตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร : 598 Print.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ทีคิวพี จำกัด.
ศศิพัฒน์ยอดเพชร. (2544). สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อคิน รพีรัตน์. (2547). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
Friedlander, Walter A. and Robert Q. Apte (1980) Introduction to Social Welfare. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
World Health Organization (WHO). (1994). Community-Based Rehabilitation and the HealthCare Referral Services: A Guide for Programme Managers. Geneva, Switzerland.
Zhan, L. (1992). Quality of Life: Conceptual and Measurement Issue. Journal of Advanced Nursing, 17(7), 795-800.