กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงขององค์การภาครัฐในยุคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • อรรคพล เดื่อไธสง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหาร, ความเสี่ยง, องค์การภาครัฐ, ยุคโควิด-19

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด- 19 ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของภาครัฐที่ไม่สามารถดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงองค์การภาครัฐในยุคโควิด-19  และ 2) ศึกษากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงองค์การภาครัฐในยุคโควิด-19 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่  ผู้บริหารระดับสูง  ระดับกลาง และระดับต้นขององค์การภาครัฐ เจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสรุปแบบพรรณนาความ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงองค์การภาครัฐในยุคโควิด-19 พบว่า รูปแบบการทำงานแบบใหม่ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงขององค์การลดลง บุคลากรขาดความตระหนัก ความรู้ และความร่วมมือ แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์การมีความซ้ำซ้อน ไม่ชัดเจน และผู้บริหารยังไม่เห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง และ 2) กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงองค์การภาครัฐในยุคโควิด-19 พบว่า นโยบายของรัฐบาล มีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการรับมือให้สอดคล้องกับสถานการณ์
การจัดการภาวะวิกฤต ทำการถอดบทเรียนและทบทวนแนวทางการบริหารความเสี่ยง เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทาง และรูปแบบการบริหารความเสี่ยงใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ความยืดหยุ่นในการบริหารงาน  ปรับรูปแบบการทำงานใหม่ กำหนดมาตรการดูแลความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของบุคลากร  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และประชาชนผู้รับบริการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไปจนถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ และรูปแบบการทำงานในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19  มีการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก จัดทำเป็นแผนกลยุทธ์การรับมือ แผนฉุกเฉิน และสื่อสารสร้างความเข้าใจ

References

กระทรวงการคลัง. (2564). แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงสําหรับหน่วยงานของรัฐเรื่องหลักการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการคลัง.

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2563). บริหารความเสี่ยงอย่างไรให้องค์กรไร้วิกฤต. วารสารสหวิทยาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 340-351.

จรรยรัศม์ อินนพคุณ และเฉลิมพร เย็นเยือก. (2563). การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาหน่วยงานราชการอำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 14(33), 91-104.

ชิน ฮอนมา. (2563). ประเมินความพร้อมขององค์กร 6 ด้านในการรับมือวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด- 19. เรียกใช้เมื่อ 22 สิงหาคม 2564 จาก https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand- blogs/blog- 20200424.html

ฉัตรปวีณ์ จรัสวราวัฒน์. (2556). การบริหารงานในองค์กรในช่วงเหตุการณ์ที่วิกฤต. วารสารบัณฑิตศึกษามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 1-14.

นงนุช อุณอนันต์ และธัชพงศ์ เศรษฐบุตร. (2563). กลยุทธ์การบริหารองค์กรฝุาวิกฤตโควิด-19. The 4th International Multi-Conference of Management Science 2020, 402–409.

ปกรณ์ อุดมธนะสารสกุล. (2564). อิทธิพลของนโยบายรัฐบาลและการจัดการภาวะวิกฤติที่มีต่อกลยุทธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงวิกฤติของโรคระบาดโควิด-19. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 75-92.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). โควิด-19 เปลี่ยนโลก “ธุรกิจ” ปรับรอบทิศรับโจทย์ใหม่. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-584527

ระเบียบ สวนพันธุ์ . (2560). การรับรู้การบริหารความเสี่ยงของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2563). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี. (2564). เจาะแนวโน้มธุรกิจไทยปี 2564 ท่ามกลางคลื่นมรสุมโควิด. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2564 จาก https://www.ttbbank.com/archive/en/analytics/indus try-analysis/view/ThaiBus-COV-2021.html

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าว Hfocus. (2564). ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติหน่วยงานรัฐในภาวะโควิดจุดเริ่มการก้าวสู่e-Service. เรียกใช้เมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก https://www.hfocus.org/content/2022/04/24976

สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หนองคาย สาขาเมืองหนองคาย. (2563). คู่มือการบริหารความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). หนองคาย: สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หนองคาย.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2562). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพในยุค Digital Disruption. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/article/36379/

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. (2563). แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง.

องค์กรบริหารส่วนตําบลทุ่งกอ จังหวัดเชียงราย. (ม.ป.ป.). คู่มือบริหารความเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.tkr.go.th

อภิสิทธิ์ เหมาะสมสกลุ. (2547). การสื่อสารภาวะวิกฤต: กรณีศึกษาเปรียบเทียบโรคซาร์ส และโรค ไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฉพาะบุคคล บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Gray, F. C., & Larson, W. E., (2006). Project Management: The Management Process. Singapore: McGraw-Hill.

Koch, M. W., & Fairly, T. M. (1993). Integrated Quality Management: The key to Improving Nursing Care Quality. Louise: Mosby Year Book.

Miller, K. S., & Iscoe, I. (1963). The Concept of Crisis: Current Status and Mental Health Implications. Human Organization, 22, 195–201.

Roth, J. (2007). Categorizing Risk: Risk Categories Help Users Identify, Understand, And Monitor Their Organizations’ Potential Risks-risk Watch. Retrieved 22 August, 2021, from http://findartictes.com/p/articles/mi_m4153/ is_2_59/ai_85014799.

The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread way Commission (COSO). (2017). Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance Executive Summary. Retrieved September 11, 2021, from https://www.coso.org/Documents/2017-COSO-ERM-IntegratingwithStrategy-and-Performance-ExecutiveSummary.pdf.

Wilson , J., & Tiger, J. (1999). Clinical Risk Modification: A Route to Clinical Governance. Oxford: Butterworth-Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30