ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในสถานการณ์ โควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ดรุณี ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

อิทธิพล, การตัดสินใจ, รถยนต์มือสอง, สถานการณ์โควิด-19

บทคัดย่อ

จากปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าและถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลาดรถยนต์มือสองก็ได้รับผลกระทบและกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในอนาคต การวิจัยเรื่องนี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการรถยนต์มือสอง เจ้าหน้าที่สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค เจ้าหน้าที่กรมการขนส่ง และผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน  20 คน  โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการสรุปแบบพรรณนาความ

          ผลการวิจัยพบว่า 1)  ปัญหาและอุปสรรคของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น รถยนต์มือสองขาดแคลน ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน พนักงานขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า  ปัญหาด้านกระบวนการ  สภาพการแข่งขันขันที่รุนแรง และบุคคลในครอบครัวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และ
2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ มาตรฐานและคุณภาพสินค้า การกำหนดราคาที่เป็นธรรม กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง มาตรการจูงใจจากภาครัฐ ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค จริยธรรมของผู้ประกอบการ และคุณภาพการให้บริการ  มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในสถานการณ์ โควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น

References

กลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research). (2563). จับชีพจรตลาดรถไทยหลังโควิด-19: ตลาดรถมือสองคึกคักสวนทางรถใหม่ท่ามกลางความท้าทาย. KKP Insight, 5, 5.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชญานิศ เฉลิมสุข และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ของประชาชนในเขต บางนา กรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธนบุรี.

ชรินทร์ วิจิตรแพทย์ . (2546). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ญี่ปุ่นขนาดกลางของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรพล คําชาย. (2557). มาตรการทางการปกครองในการควบคุมดูแลธุรกิจรถยนต์มือสองโดยผ่านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). จริยธรรมในการทำธุรกิจ (Business Ethics). เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2564, จาก https://www.popticles.com/business/examples-of-business-ethics/

ปีรติ อ่องสุรักษ์. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์รถยนต์ และการพยากรณ์อุปสงค์รถยนต์ในประเทศไทย: กรณีศึกษากลุ่มตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็กและกลุ่มตลาดรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 18(2), 27-70.

พิมตะวัน นิโรจน์ และรัศฎา เอกบุตร. (2564). มาตรฐานของการค้ารถยนต์มือสองกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค: กรณีศึกษามาตรฐานรถยนต์มือสอง TOYOTA. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 34-41.

วรเทพ ตรีวิจิตร. (2560). อิทธิพลของจริยธรรมธุรกิจ และภาพลักษณ์ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1944- 1958.

ว่าที่ร้อยโท รัชกฤช สินวรภากุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2548 – 2560. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อนุชาติ ดีประเสริฐ. (2564). แอพเพิล ออโต้ ออคชั่นชี้ตลาดรถยนต์มือสองในช่วงสถานการณ์โควิดจะผ่านไปได้ด้วยดี. เรียกใช้เมื่อ 17 สิงหาคม 2564, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/112327

Angeline, G. C. (2012). Online Consumer Behavior: Theory and Research in Social Media, Advertising. Journal of Advertising Research, 10(3), 420-433.

Brown, S. W., & Bitner, M. J. (2007). Mandating a service revolution for marketing. In R. F. Lush, &S.L. Vargo (Eds). The Service-Dominant Logic of Marketing: Dialog, Debate and Direction. (393-405). Armonk, New York: M. E. Sharp.

Kotler, P. and Keller, K. (2009). Marketing Management. 13th ed. Pearson Prentice-Hall.

Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litany: Four Ps Passe: C-Words Take Over. Advertising Age, 61(41), 26.

Loudon, D., & Bitta, A. J. (1993). Consumer Behavior: Concepts and Applications. (4th ed.). New York: McGraw-Harper and Row.

Orji, and Goodhope, O. (2013). Major Classic consumer Buying Behavior Model: Implications for Marketing Decision-Making.Journal of Economics and Sustainable Development, 2013(4), 164-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30