การใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศของเทศบาล ตำบลคลองแงะ ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • พระศราวิน สุรปญฺโญ (ทันชม) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กันตภณ หนูทองแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักสาราณียธรรม, การบริการ, เทศบาลตำบลคลองแงะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศของเทศบาลตำบลคลองแงะ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมการใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศของเทศบาลตำบลคลองแงะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 381 คนและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศของเทศบาลตำบลคลองแงะ ทั้ง 6 ด้าน โดยรวม ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (  = 3.65) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาต่ำสุด พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการให้บริการประชาชนตามหลักทิฏฐิสามัญญตา ค่าเฉลี่ย (  = 3.68) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการให้บริการประชาชนตามหลักเมตตาวจีกรรม ค่าเฉลี่ย (  = 3.66) อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการให้บริการประชาชนตามหลักเมตตากายกรรม ค่าเฉลี่ย (  = 3.63) อยู่ในระดับมาก และการให้บริการประชาชนตามหลักสาธารณโภคี ค่าเฉลี่ย (  = 3.63) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) แนวทางการใช้หลักสาราณียธรรมในการให้บริการสู่ความเป็นเลิศของเทศบาลตำบลคลองแงะ เห็นว่า ผู้บริหารควรกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้น ควรจัดการอบรมด้านกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ ควรจัดการอบรมฝึกจิตใจเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการทุกปี ควรเร่งหางบจัดซื้ออุปกรณ์ในการบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น อีกทั้งควรมีการวางระเบียบการบริการให้ชัดเจน สุดท้ายควรเปิดช่องทางแสดงความคิดเห็นจากประชาชน

References

เทศบาลตำบลคลองแงะ. (2563). รายงานผลประเมินความพึงพอใจของประชาชนตอผลการดําเนินงานของเทศบาลตําบลคลองแงะ ประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565 จาก https://khlongngae.go.th/report/cate/9.

______. (2564). ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานทะเบียนราษฎร์. ผลการประเมิน. สำนักงานปลัดเทศบาลตำบลคลองแงะ. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565 จาก https://khlongNgae.go.th/report/cate/9.

______. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 : ข้อมูลงานทะเบียนราษฎร เทศบาลตำบลคลองแงะ. 29 ตุลาคม.

______. (2564). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ ER New Normal เทศบาลตำบลคลองแงะ. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565 จาก https://khlongngae.go.th/report/cate/9.

นวลอนงค์ วิเชียร. (2549). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : เอส.ริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก หน้า 2 (9 ตุลาคม 2546).

สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2555). คู่มือหลักการการให้บริการที่ดี ภายใต้กระบวนการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเด็นการบริการประชาชน และประสิทธิภาพภาครัฐ. 18 เมษายน.

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). คู่มือ-เทคนิคการให้บริการด้วยใจ “Service Mind”. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุจินต์ ธรรมชาติ. (2549). การวิจัยภาคปฏิบัติวิธีลัด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสรี วงพงษ์. (2558). การพัฒนาแนวทางบริการสู่ความเป็นเลิศ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 23(1), 66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03