การใช้หลักสัปปุริสธรรมต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การบริหารกิจการคณะสงฆ์, หลักสัปปุริสธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสัปปุริสธรรมต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคือพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาสในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 188 รูป ผู้ให้ข้อมูลหลักคือเจ้าอาวาส จำนวน 5 รูป การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบโครงสร้างและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าอาวาสในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการใช้หลักสัปปุริสธรรมต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ หลักอัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักตน) รองลงมาคือ หลักปุคคลปโรปรัญญุตา(เป็นผู้รู้จักบุคคล) และหลักที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ หลักอัตถัญญุตา (เป็นผู้รู้จักผล) และ 2) เจ้าอาวาสมีการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมต่อบริหารกิจการคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน โดยหลักรู้จักเหตุ เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติตนเพื่อดำเนินกิจการในวัดอย่างเหมาะสม หลักรู้จักผล ใช้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินกิจการของวัดเพื่อประโยชน์สูงสุด หลักรู้จักตน ใช้พิจารณาความรู้ความสามารถของตนหรือคนรอบตัวเพื่อบริหารกิจการต่างๆ อย่างเหมาะสม หลักรู้จักประมาณ ใช้ควบคุมการจ่ายงบประมาณให้มีความพอดี หลักรู้จักกาลใช้จัดลำดับความสำคัญการดำเนินกิจการในวัด หลักรู้จักชุมชน โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ หลักรู้จักบุคคล เพื่อให้บริหารงานผู้ใต้ปกครองได้ตรงตาความสามารถ
References
จุฑารัตน์ ทศไกร และคณะ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 163 – 177.
ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์. (2565). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารวิจัยศรีล้านช้าง, 2(4), 57 – 65.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2518). พระธรรมปิฎก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.
พระครูนิมิตสาธุวัฒน์ (บุญเมือง ชวโน) และคณะ. (2564). แนวทางการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยหลักสังคหวัตถุของพระสังฆาธิการในเขตปกครองอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. Journal of Modern Learning Development, 6(3), 41 – 57.
พระครูสังฆรักษ์ปรีชา ฐิตญาโณ. (2564). สัปปุริสธรรม : พฤติกรรมการดำเนินชีวิตสมัยใหม่. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 17 – 26.
พระครูพิฑูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ นรินฺโท) และพระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2564). ทักษะการบริหารกิจการคณะสงฆ์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 235 – 250.
พระณรงค์ สังขวิจิตร. (2560). การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน : ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 27 – 40.
พระครูโพธิกิตติคุณ (กิตติพงษ์ สุปญฺโญ). (2561). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธ ของคณะสงฆ์ภาค 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโกสุมสมณวัตร (สังวาลย์ กุสุโม/เมาตะยา). (2560). ศึกษาหลักสัปปุริสธรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤตวิทย์ อธิฏฐาโน (สนธิสุข). (2548). ศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดประชาธิปไตยในพุทธปรัชญาเถรวาทกับแนวคิดประชาธิปไตยในสังคมปจจุบัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาปรัชญา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชปริยัติโมลี (ไพบูลย์ วิปุโล). (2554). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศตวรรษ กิตฺติปาโล (บุญกมล). (2562). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการส่งเสริมการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตจังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ไพรัตน์ เลิศพิริยกมล. (2539). สภาพปัญหาสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถาบันราชภัฏ.
สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. ขอนแก่น : สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.
Best, John W. (1981). Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs. New Jersey: Prentice Hall.