การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลเมือง ปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พระมหาเอกชัย สิริธมฺโม (มานะจิตต์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การให้บริการ, สังคหวัตถุธรรม, ประชาชน, จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 395 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้ง 4 ด้าน โดยรวม ซึ่งมีค่าค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการให้บริการประชาชนด้านอัตถจริยา รองลงมา คือ ด้านการให้บริการประชาชนด้านทาน และด้านการให้บริการประชาชน ด้านสมานัตตตา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการให้บริการประชาชนด้านปิยวาจา 2) ปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรม ในเขตเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้านทาน เทศบาลไม่มีที่นั่งพักที่เพียงพอ เห็นควรให้เทศบาลจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้รับบริการอย่างเพียงพอ ด้านปิยวาจา การติดต่อใช้บริการบางครั้งเจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ ใช้น้ำเสียงไม่ไพเราะ ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่นำหลักปิยวาจาไปใช้ในการให้บริการ  ด้านอัตจริยา เจ้าหน้าที่ของเทศบาลให้บริการประชาชนแบบเลือกปฏิบัติ ควรให้ความสำคัญกับประชาชนที่มาติดต่อใช้บริการอย่างเท่าเทียมกัน ด้านสมานัตตตา เจ้าหน้าที่เทศบาลให้บริการประชาชน เอื้อผลประโยชน์ให้กับผู้รับบริการบางราย เจ้าหน้าที่ควรยึดการให้บริการของเทศบาลเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) (2543). พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระวิศรุต ฐิตโสภโณ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการปกครอง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกมหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีพร้อมอรรถกถา. (ชุด 91 เล่ม). พระไตรปิฎก อรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิสิทธิ์ ขจรภพ. (2561). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในการให้บริการของบุคลกรขององค์การบริหารส่วนตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row. Publications. Vroom, H. V. (1967). Work and Motivation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03