การใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการพัฒนาการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน ในเขตอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดชัยวัธน์ ชยธมฺโม (คุ้มเดช) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สังคหวัตถุธรรม, การพัฒนาการเลือกตั้ง, ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการพัฒนาการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาโดยนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน การวิจัยครั้งนี้กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 396 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการพัฒนาการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน โดยรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านทาน และด้านอัตถจริยา ส่วนด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาโดยนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน พบว่า ประชาชนไม่มีความเข้าใจในกระบวนการการเลือกตั้ง ไม่เคารพหลักการเลือกตั้ง 1 คน ต่อ 1 เสียง นอนหลับทับสิทธิไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีอคติในการเลือกตั้ง แนวทางการพัฒนาโดยการนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปใช้ในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน ควรรนณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าในกระบวนการการเลือกตั้ง เคารพถึงสิทธิของตน 1 สิทธิ 1 เสียง ประชาสัมพันธ์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เลือกผู้แทนตามนโยบายและคุณสมบัติ

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

พระครูวินัยธรพนพัฒน์ พลางวัน (สีลสุทฺโธ). (2560). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2541). ธรรมะสร้างเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row. Publications. Vroom, H. V. (1967). Work and Motivation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03