บทบาทของพระสงฆ์ต่อการกล่อมเกลาจริยธรรมทางการเมืองแก่ประชาชนในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จารุวัฒน์ กิตติธิรางกูร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • กันตภณ หนูทองแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ต่อการกล่อมเกลาจริยธรรมทางการเมืองแก่ประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ในการกล่อมเกลาจริยธรรมทางการเมืองแก่ประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย กลุ่มตัวอย่างคือพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 181 รูป ผู้ให้ข้อมูลหลักคือพระสังฆาธิการ จำนวน 5 รูป การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์แบบโครงสร้างและการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของพระสงฆ์ต่อการกล่อมเกลาจริยธรรมทางการเมืองแก่ประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในภาพรวม  อยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการเทศนาส่งเสริมจริยธรรมทางการเมือง ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมทางการเมือง ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมจริยธรรมทางการเมือง ตามลำดับ
2) แนวทางการพัฒนาบทบาทของพระสงฆ์ต่อการกล่อมเกลาจริยธรรมทางการเมืองแก่ประชาชน พบว่า ภาครัฐและเอกชน ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและเทคโนโลยีที่จำเป็น ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมทางการเมือง และพระสงฆ์ควรพัฒนาตนเองด้าน องค์ความรู้ใหม่ๆ สามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองได้ดียิ่งขึ้น และควรพัฒนาความรู้ ด้านเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกล่อมเกลาจริยธรรมทางการเมืองได้ดียิ่งขึ้น

References

พระครูอาทรยติกิจ (ชื่น ขำวงษ์). (2559). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์.วารสาร มจร.มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 106-115.

พระศิลาศักดิ์ สุเมโธ และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการกล่อมเกลาทางการเมืองกับวัฒนธรรมทางการเมือง. วารสารปัญญาปณิธาน, 4(1), 33-49.

วุฒิศักดิ์ พรมสาร. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทการส่งเสริมจริยธรรมทางการเมืองของพระสงฆ์ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการปกครอง.มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

รัชนก สมศักดิ์ และคณะ. (2556). การขาดจริยธรรมทางการเมือง. เรียกใช้เมื่อ 16 เมษายน 2566 จาก http://phdcommunication.com.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2565). บัญชีสำรวจวัด พระภิกษุ สามเณร ศิษย์วัด ชี นอกพรรษากาล ประจำปี พ.ศ. 2565, 1-6.

Best, j.w. (1981). Research in education (4th ed). New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V. & D. w. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03