ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8

ผู้แต่ง

  • พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิโต (อินสุข) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดจักรพล สิริธโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, หลักสัปปุริสธรรม 7, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8  การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจํานวน 248 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test และ One - Way ANOVA วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 8 โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตลอดถึงครูผู้สอนในโรงเรียน ที่มีตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำ ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 8 ไม่พบความแตกต่างกัน 3) แนวทางส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้ผลสรุป ดังนี้ 1) ผู้บริหารควรมีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาตนเอง 2) ผู้บริหารควรเปิดใจให้กว้างมากขึ้นกว่าเดิม 3) ผู้บริหารควรมีระดับการควบคุมอารมณ์ของตนเองให้พอเหมาะ
4) ผู้บริหารควรที่จะรู้จักประมาณตนเองในการใช้อำนาจบริหารงบประมาณ 5) ผู้บริหารควรที่จะรู้เวลาและโอกาสในการพัฒนาสถานศึกษา 6) ผู้บริหารควรเป็นกัลยาณมิตรกับชุมชน 7) ควรให้มีการอบรมการบริหารงานด้านบุคลากรถสร้างความเจริญก้าวทั้งในปัจจุบันและอนาคต

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2524). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอุทัยกิจพิพัฒน์ (วิรัต สุกอินทร์). (2554). การศึกษาภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการจังหวัด

อุทัยธานีตามหลักสัปปุริสธรรม 7. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาคมเพชร วชิรปญฺโญ (เรืองผา). (2553). การนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหารุ่งโรจน์ ธมฺมฎฺฐเมธี (ศิริพันธ์). (2550). การศึกษาวิเคราะห์หลักภาวะผู้นำในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.

Allport. G.W. (1967). Attitude: Handbook of Social Psychology. Worcester. Mass.: Clark University Press.

Glasgoe Caledonian University. (1995). Social Security Scheme. Paper Presented at Training on Social Security Administration. Social Security Office Bangkok.

Jonthan Boston et.al. (1996). Public Management: The New Zealand Model Auckland:Oxford University Press.

Zeithaml.V.A..L.L.Berry and A Pstsdutsman. (1994). Diagnosing Service Quality in

America.Academy of Management Executive 8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-03