พัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ด้วยแนวคิดการสร้างตัวชี้วัดที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก

ผู้แต่ง

  • กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

พัฒนา, องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา, วัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก

บทคัดย่อ

การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาด้วยแนวคิดการสร้างตัวชี้วัดที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก เป็นการศึกษาถึงแนวคิด องค์ประกอบขององค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งแนวคิด พื้นฐานความสำคัญ วิธีการออกแบบและแนวทางการนำไปใช้ของการสร้างตัวชี้วัดที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลัก โดยบทความนี้จะแสดงถึงการนำ OKRs ไปใช้ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา โดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายของสถาบันอุดมศึกษาในการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาและถ่ายทอดลงสู่หน่วยงานและบุคลากรตามลำดับเพื่อนำไปปฏิบัติรวมทั้งมีการกำหนดผลลัพธ์หลักและวิธีการประเมินผลลัพธ์หลักเพื่อใช้ในการกำกับติดตามการดำเนินงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักหรือไม่ ซึ่งการนำแนวคิด OKRs มาใช้นั้นจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดรวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยมีผลลัพธ์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับองค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาเพื่อแข่งขันได้ในระดับชาติและนานาชาติต่อไป

References

กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์. (2562). OKRs @ Work บริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศด้วย OKRs. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เกรท มีเดีย เอเจนซี จำกัด.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2562). คู่มือประยุกต์ใช้ระบบการบริหารผลงานด้วยแนวคิดแบบ OKRs. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นภดล ร่มโพธิ์. (2561). พัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs. นนทบุรี: เอ็นพี อินเทลลิเจนซ์.

นิพาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). การบริหารองค์การด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด Objective and Key Results. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 37(2), 367-382.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2556). องค์กรแห่งนวัตกรรม: การปรับตัวขององค์กรภาครัฐในทศวรรษหน้า. วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน, 20, 71-93.

ภารดี อนันต์นาวี. (2564). องค์กรนวัตกรรมทางการศึกษา:การบริหารจัดการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(2), 10-21.

มรกต จันทร์กระพ้อ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). การสร้างองค์การแห่งนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศขององค์การ. วารสารนักบริหาร, 39(1), 52-66.

รัตนวดี โมรากุล. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University: ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2341-2355.

วาทินี พูลทรัพย์. (2563). องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2561). มหาวิทยาลัยไทย ทำอย่างไร จึงจะอยู่รอด. เรียกใช้เมื่อ 18 มีนาคม 2566 จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_810261.

สุริศา ริมคีรี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

องค์อร ประจันเขตต์. (2557) องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษา ทางเลือกใหม่ของการบริหารการศึกษา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 45-51.

อุบลวรรณ หอมสิน และขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2564). การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดด้วยแนวคิด I-OKRR. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(1), 1-12.

Doeer , J. (2018). Measure What Matters. Penguin Random House, New York.

Jamison, L.E. (2019). Measuring Performance within Anti-Gang Task Forces in Texas. Naval Postgraduate School Monterey United States.

McKeown, M. (2008). The Truth About Innovation. London, Prentice Hall.

Wade, D. T. (2009). Goal Setting in Rehabilitation: An Overview of What, Why and How, Clinical Rehabilitation, 23, 291-295.

Wodtke, C. (2016). Introduction to OKRs. CA: O,Reilly Media, Imc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29