การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, นวัตกรรม, การป้องกันทุจริตคอร์รัปชั่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน 2) เพื่อการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ระยะที่ 1 ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน ข้าราชการครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 50 คน ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลในการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อเสนอแนะข้องผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้วิธีการสรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์การดำเนินงานการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านหลักการองค์กรแห่งการเรียนรู้ รองลงไปคือด้านหลักการฝึกอบรมและการพัฒนา 2. การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบ
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ 4) แนวการประเมินรูปแบบและ
5) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบระดับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่จัดทำขึ้นโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากและเมื่อพิจารณาตามรายจ้อพบว่าทุกจ้อมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากขึ้นไป 3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าผู้ประเมินมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรานด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
References
กิตติพงษ์ ทินแย่ง. (2551). รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กต้นแบบการเรียนรู้แบบคนคละชั้น โรงเรียนบ้านแม่กองแป แม่ฮ่องสอน. แม่ฮ่องสอน: โรงเรียนบ้านแม่กองแป.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2554). วิกฤตคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. เรียกใช้เมื่อ 21 สิงหาคม 2555 จาก http://www.kriengsak.com/node/1880
เกษม วัฒนชัย. (2545). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
ขวัญใจ ตรีบุรุษ. (2548). การบริหารโรงเรียนเทศบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่ความเป็นเลิศในเขตการศึกษา3และ 4. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. ใน ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2546). ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วย EDFR. วารสารครุศาสตร์, 1(32), 1-19.
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2541). การวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย ใน ทศพร ศิริสัมพันธ์ (บรรณาธิการ), เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวนภารังกูล. (2552). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนชายแดนภูมิภาคตะวันตก. ใน วิทยานิพนธ์ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2556). การศึกษาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ทิศนาแขมมณีและคนอื่นๆ. (2547). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบรรยายรายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษาเรื่อง “รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ”.ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประหยัด สุขสำราญ. (2555). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พระมหาสุทิตย์อาภากโร. (2548). เครือข่ายธรรมชาติความรู้และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
พรทิพา เหลืองวัฒนกิจ. (2549). ผู้ประกอบการกับการพัฒนานวัตกรรมในพลวัตนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
สมานอัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2,83-84.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจดการศึกษา. (2549). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อุษาการพิมพ์.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นาเชิงนวัตกรรม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต,คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.