แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs ของเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ขยะมูลฝอย, หลักการ 7Rsบทคัดย่อ
เมืองชะอำเป็นที่รู้จักว่าเป็นเมืองชายทะเลที่สงบเงียบ ธรรมชาติสวยงาม อีกทั้งมีแหล่งน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ชะอำมีความเจริญทั้งด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ พร้อมทั้งการให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยมีนโยบายการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมพัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรให้ทันสมัยยิ่งขึ้น รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากขยะ และถนนในเขตเทศบาลไม่มีขยะตกค้าง ควบคุมมลพิษทางอากาศฝุ่นละออง และเสียง ขยายเขตรองรับน้ำเสียเพื่อนำไปบำบัดให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ดูแลรักษาระบบนิเวศชายหาดสถานที่สาธารณะ และแหล่งท่องเที่ยวให้ยังคงสวยงามเป็นปอดของชุมชน แต่ก็ยังพบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับขยะมูลฝอยในพื้นที่ คือ 1) การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ไม่เหมาะสม 2) มีสถานที่กำจัดขยะไม่เพียงพอ
3) ปัญหาด้านศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs และ 4) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองชะอำ จำนวน 396 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน และอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs แตกต่างกัน 3) ปัจจัยในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในภาพรวม ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการรับรู้ข่าวสาร มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการตามหลักการ 7Rs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
References
เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อานุภาพ รักษ์สุวรรณ และดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ ของเทศบาลเมืองหัวหิน. ใน รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ฐิติรัตน์ มานิพารักษ์. (2563). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3R ของพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ตะวันออก. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 157-170.
ทิพย์รัตน์ ลิ้มอนุสรณ์. (2560). ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนต่อการจัดการขยะด้วยแนวคิด 7R ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 17 สิงหาคม 2565, จาก
http://www.me-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-4-1_1594549144.pdf.
เทศบาลเมืองชะอำ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) เทศบาลเมืองชะอำ. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2565, จาก http://www.cha-amcity.go.th.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561 หัวข้อพิเศษ: งานวิชาการรับใช้สังคม. 1-8.
ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรและพลังงาน. เรียกใช้เมื่อ 17 สิงหาคม 2565, จาก
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี. (2564). ข้อมูลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดเพชรบุรี. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี.
สำนักงานเทศบาลเมืองชะอำ. (2562). รายงานกิจการเทศบาลเมืองชะอำ ปีงบประมาณ 2562. สำนักงานเทศบาลเมืองชะอำ.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 8. (2565). ตรวจสอบการบริหารจัดการสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของสำนักงานเทศบาลเมืองชะอำ. เรียกใช้เมื่อ 6 สิงหาคม 2565 จาก http://www.mnre.go.th/reo08/th/news/detail/112180
Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
Cohen J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: concept and measure for project design. implementation and evaluation. New York: Cornell University.
Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994). Consumer Behavior. 5th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentice-Hall.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.