การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วยของเล่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา ปสังคโท คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กิตติกร รักษาพล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • หรรษา องคสิงห์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • รัชดาพรรณ อินทรสุขสันติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สุริยะ ประทุมรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อนงลักษณ์ หนูหมอก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เพ็ญพรรษา อุ้ยปัดฌาวงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การส่งเสริมพัฒนาการ, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, ของเล่นภูมิปัญญาในท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้เต็มตามศักยภาพแต่ละบุคคลด้วยของเล่นภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตของเล่นด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่นนำไปใช้พัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเพื่อให้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เข้ามามีส่วนร่วมในส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วยกระบวนการของเล่นด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ 1) เด็กที่มีความต้องการพิเศษ จานวน 26 คน เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่คณะผู้วิจัยไปค้นหาในชุมชน แบบ Case by Case 2) ผู้ปกครองเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 50 คน  3) ชุมชนและภาคีเครือข่ายการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชุมชน  จำนวน 20 คน  ใช้ระเบียบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) ใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียว (Single Subject Design) รูปแบบ Basic A – B (Baseline and Intervention Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ของเล่นภูมิปัญญาส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2) แบบประเมินพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 เดือน  เริ่มต้นโครงการวิจัย วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  สิ้นสุดโครงการวิจัย วันที่ 31พฤษภาคม พ.ศ. 2558 โดยการวิจัยในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 8 ระยะ  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  คือ คะแนนเฉลี่ย
(   ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (  )  และ The Wilcoxon Matched Pairs Signed - Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วยของเล่นภูมิปัญญาในท้องถิ่น1) คะแนนพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษก่อนได้รับการฝึกโดยใช้ของเล่นภูมิปัญญาในท้องถิ่น อยู่ระหว่าง 6 – 10 คะแนน  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.23 และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.21 มีพัฒนาการอยู่ในระดับปรับปรุง  หลังจากได้รับการฝึกโดยใช้ของเล่นภูมิปัญญาในท้องถิ่นแล้วมีช่วงคะแนนระหว่าง  25 – 36  คะแนน  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  30.77  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.56  มีพัฒนาการอยู่ในระดับดีมาก 
2) การส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตของเล่นด้วยภูมิปัญญาในท้องถิ่น นำไปใช้พัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.78 

References

กมลทิน พรมประไพ และคณะ. (2545). ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าพื้นเมือง: กรณีศึกษาอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน การค้นคว้าด้วยตนเอง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พยุงพร ไตรรัตน์สิงหกุล. (2537). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการถ่ายทอดหัตถกรรมพื้นบ้านเครื่องจักสานบ้านหนองป่าตอง อำเภอพนมนสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. ใน ปริญญานิพนธ์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รานี อุปรา. (2547). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนปกาเกอะญอ บ้านแม่แฮน้อยอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2555). รายงานประจำปีสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

ศศิพินต์ สุขบุญพันธ์. (2561). การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(1), 100-118.

ศิวดล วาฤทธิ์. (2545). ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำโคมผัดจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณี หรดาล. (2555). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อพื้นบ้านกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. ในเอกสารประกอบการสอนวิชานวัตกรรม สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษาปฐมวัย (หน่วยที่ 11 น. 1-60). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Fung, I., (1996). The global carbon cycle and the atmospheric record: "The problem definition". In Forest Ecosystems, Forest Management and the Global Carbon Cycle.

M.J. Apps and D.T. Price, Eds., NATO ASI Series I: Global Environmental Change, 40, Springer-Verlag, 25-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31