รูปแบบการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอยของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนกร ฮะยิ้ม วิทยาลัยนวัติกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ภคมน โภคะธีรกุล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • รัชยา ภักดีจิตต์ วิทยาลัยนวัติกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • สุพัตรา ยอดสุรางค์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการมลพิษ, สิ่งแวดล้อม, ขยะมูลฝอย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระบุสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาของการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย มีผลต่อการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย 3) เสนอรูปแบบการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็น บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 261 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพปัจจุบันมีการดำเนินการตามหลักการ 3Rs มีการคัดแยกขยะ โดยการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง ส่วนสภาพปัญหา ได้แก่ ด้านการจัดการขยะ ขาดความตระหนักรู้ และขาดการประสานความร่วมมือ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านงบประมาณ ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านสถานที่ มีผลต่อการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) รูปแบบการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอย (WEPMSBPC Model) ประกอบไปด้วยไปด้วยปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการ คือ บุคลากร งบประมาณ สถานที่ และการสื่อสาร ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ประการนี้ส่งผลให้การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อมด้านขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). คู่มือการปฏิบัติการ 3 ใช้ (3Rs) เพื่อจัดการขยะชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม อานุภาพ รักษ์สุวรรณ และดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2562). การพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพของเทศบาลเมืองหัวหิน. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

จักรกริช กาญจนกิจ. (2556). การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธันยมัย ฉันทวี, ชญาภัทร พันธ์งาม, อุไร ชนะกานต์. (2564). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. เรียกใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม 2566 จาก https://cnu.ac.th/journal/JournalPDF/9_01_0005.pdf

นนทชา มานะวิสาร. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. เรียกใช้เมื่อ 6 กรกฎาคม 2566 จาก

https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/data-service/or-wor-chor/item/download/7886_76069f04cb867b3399d5e022686b50fb.

ปิยวรรณ เสนคำ และนิรวรรณ แสนโพธิ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 165-175.

วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี. (2560). ยุทธศาสตร์และภารกิจหลักของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579). สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี. (2564). ข้อมูลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดเพชรบุรี. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ส่วนพัฒนายุทธศาสตร์. (2562). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2563-2565). สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ส่วนพัฒนายุทธศาสตร์.

อนุสรณ์ ปัตตนาภรณ์. (2560). ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 4(2), 33-40.

ฮารูน มูหมัดอาลี. (2561). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 297-314.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Cohen J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: concept and meaures for project design. implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Drucker, P.F. (2006). Management: Tasks, Responsibilities, Practices, Harper Collins. New York.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31