การศึกษากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ผู้แต่ง

  • มานะ สินธุวงษานนท์ UBRU
  • ณัฐยา บุญกองแสน
  • กชกร หวังเติมกลาง

คำสำคัญ:

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, การปฎิรูปการศึกษา

บทคัดย่อ

 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศสมาชิกที่จะบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาในปี พ.ศ.2573 ซึ่งบทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอให้เห็นความสำคัญของการศึกษากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ประเทศทั่วโลกได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนา โลกเราให้มีความก้าวหน้าทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยสหประชาชาติได้กำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ.2573 การที่ทุกภาคส่วนจะร่วมกันมุ่งมั่นพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษา การจัดการศึกษาต้องเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่เป็น หัวใจสำคัญในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยะประเทศได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ดังนั้นการที่จะสามารถขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จจึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษา อย่างจริงจังทุ่มเทในทุกด้านเพราะการศึกษาที่มีคุณภาพจะบ่งบอกถึงคุณภาพของประชากรในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ การปฏิรูปการศึกษาควรครอบคลุม 1) การปฏิรูปโครงสร้างและระบบบริหารจัดการศึกษา 2) การปฏิรูปหลักสูตร 3) การปฏิรูปการผลิตและการพัฒนาครู 4) ปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน 5) การปฏิรูปการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ 6) การปรับปรุงระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐหน่วยงานองค์กรเอกชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต้องร่วมกันขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการจัดการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษาใช้กลไกของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาช่วยขับเคลื่อน รวมทั้งการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จอันจะส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

References

ไกรศร วันละ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2564).การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. วารสาร มจร.มาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(3), 56–66.

โชติกานต์ ใจบุญ และจริยา วาณิชวิริยะ. (2565). การศึกษาสถานการณ์ที่บัณฑิตจะต้องเจอใน

การทำงานในแต่ละตำแหน่งอาชีพ และทักษะภาษาจีนของผู้มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 9(1), 47–58.

ญดาภัค กิจทวี. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาและการประยุกต์ใช้เพื่อการดำรงชีวิตสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 34–44.

ธีรพล หาญสุด, กุลภัสสรณ์ เทพทอง, จิราภรณ์ จันทร์หอม และเอกรินทร์ สังทอง. (2565). ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 9(2),51–62.

มูลนิธิเด็กโสสะ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. (ม.ป.ป.). องค์กร SOS สากลกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหสวรรษของสหประชาชาติ. https://www.un or.th/globals/th/the-goals/,

วันเพ็ญ ถวิลการ และชัยยนต์ เพาพาน. (2566). แนวทางการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวน

ทัศน์การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 10(1), 110–121.

วสันต์ เต็งกวน และกิติชย สุธาสิโนบล. (2564). มุมมองการศึกษาไทยทำอย่างไรให้ไปสู่ความสำเร็จ. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 1–13.

ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2565). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ SDGs. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564). SDGs คืออะไรมารู้จัก 5 เป้าหมายแรกจากมิติสังคม. เอกสารอิเล็กโทรนิกส์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2564 – 2567). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สยาม อรุณศรีมรกต และยงยุทธ วัชรตุลย์. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ

ของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1–7.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31