ผลของการใช้กิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • วัชรีย์ ร่วมคิด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปวีณา เที่ยงพรม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ธนาพูน วงค์ษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางสังคม, เด็กปฐมวัย, กิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้ง และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้ง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลเลย จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นกลางแจ้ง คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้ง และแบบประเมินพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ระหว่าง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t - test  Dependent 

          ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้งมีพฤติกรรมทางสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 18.48) ซึ่งพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ( = 4.82) รองลงมาคือ การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกันจนแล้วเสร็จ ( = 4.61) ส่วนพฤติกรรมที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ปฏิบัติตามกฎกติกาและข้อตกลงร่วมกัน ( = 4.41) และพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติตามกฎ กติกา และข้อตกลงร่วมกัน (  = 4.76) การเล่นและทำกิจกรรมร่วมกันจนเสร็จ ( = 4.61) การปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ( = 4.82) อยู่ในระดับ ดี และเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้ง พบว่าพฤติกรรมทางสังคมทั้ง 3 ด้านเพิ่มขึ้นหลังการใช้กิจกรรมเกมการเล่นกลางแจ้งสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คนึงนิจ ชิงหนะ. (2559). ผลการเล่นเกมเป็นกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

ดวงเดือน ศาสตราภัทร และ พัชรี ผลโยธิน. (2555). ขอบข่ายการวัดประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจและ สังคมของเด็กปฐมวัย. ใน อริศรา แก่นอ้วน (บ.ก.), แนวการศึกษาชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยศึกษา, (9-20). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวีศักด์ ยูชุป. (2556). ผลการให้ประสบการณ์ส่งเสริมความสามารถทางภาษาที่มีต่อทักษะทางสังคมและความสามารถทางภาษาของนักเรียนอนุบาล. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: แม็ค.

สุภัค ไหวหากิจ. (2553). เปรียบเทียบการรับรู้วินิจฉัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคติธรรมและการเล่นเกมแบบร่วมมือ. ใน ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2555). คู่มือการจัดกิจกรรมเกมและการเล่นกลางแจ้งสำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

Baumeister, Bushman. (2008). Further Evidence on the Relationship Between Participation in Nutrition Education Programs and Changes in Dietary Behavior: Journal of family and consumer Science, 88(1),31.

Kidron, Fleischman (2006). Facilitating special development with Play groups in Childhood Settings. Available from www.lib.umi.com.

Ostrosky & Jung. (2010). Children's Use of Play Developmental Differences in Materials. Dissertation Abstract Intonational.

Yanasangvorn. (2020). Cooperative Games : A Pathway to Improving Heath. Professional School Counseling.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31