แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

ผู้แต่ง

  • เดชา สอนนวล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปริยัติคุณรังษี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

บทคัดย่อ

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการแพร่ระบาดหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย สร้างความหวาดกลัวและผลกระทบต่อ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ซึ่งรัฐบาลไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ศูนย์บริการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการ ตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 3) เพื่อศึกษาแนวการบริหารงานวิชาการ ตามหลักภาวนา 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2565 มีจำนวนโรงเรียน 157 โรงเรียน เป็นผู้บริหาร ประชากรรวมทั้งสิ้น 1,315 คนขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan  และได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) ด้วยการจับสลาก และทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน ครู จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 7 คน ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______. (2535.). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จิตติมา สุนทรรส และคณะ. (2564). รูปแบบการใช้หลักภาวนา 4 เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนคุณธรรมของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(10),1.

นางพรพรรณ โปรเทียรณ์. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค, 8(10).

พระครูสุทธิวรญาณ นิธิมงคลชัย. (2565). ภาวนา 4 หลักธรรมะเพื่อการพัฒนาองค์กร ให้คนเก่งคิดและเก่งทำ พบว่า การพัฒนาคนให้เป็นคนเก่งคิดเก่งทำนั้น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(6).

Krejcie. R. V. & Morgan. D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Best and JameV.Kahn. (1993). Research in Education. 7th ed Boston: Allyn and BACON.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31