การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่
คำสำคัญ:
government management, public government, new public governanceบทคัดย่อ
การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG) เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอำนาจ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การจัดการปกครองแนวใหม่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีลักษณะที่ซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาสาธารณะในปัจจุบันมีความซับซ้อนและไม่สามารถแก้ไขได้โดยภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม
การจัดการปกครองแนวใหม่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การให้โอกาสประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะและการบริหารจัดการภาครัฐ การกระจายอำนาจ หมายถึง การกระจายอำนาจการตัดสินใจและทรัพยากรจากรัฐบาลส่วนกลางไปยังระดับล่าง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ หมายถึง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ
การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ระหว่างรัฐบาล องค์กรชุมชน เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการจัดการปกครองสาธารณะ การแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ทำให้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาและเป็นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้สามารถสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรและรัฐบาล อันเป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวและปรับปรุงกระบวนการการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทางสังคมและเทคโนโลยีขณะเดียวกัน. การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ เน้นความร่วมมือระหว่างรัฐและประชาชน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
References
กัมพล เพ็ชรล้อมทอง และคณะ. (2022). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 373-385.
ฉัตรชัย นาถ้ำพลอย. (2020). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(2), 461-470.
ไททัศน์ มาลา. (2018). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG): แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการจัดการปกครองท้องถิ่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (Valaya Alongkorn Review), 8(1), 179-194.
ธนภูมิ นราธิปกร, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, & กิตติบดี ใยพูล. (2019). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่: กรณีเมืองขอนแก่น. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 17(2), 23-45.
ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล. (2022). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีผลต่อการปฏิรูประบบราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(48), 459-476.
ภาณุพงษ์ ดวงสิทธิโชค, สุดาภรณ์ อรุณดี, & อนันต์ ธรรมชาลัย. (2023). การมีส่วนร่วมตามแนวการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ในการลดปริมาณขยะและพลาสติกของประชาชน เขตเทศบาลตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(4), 124-133.
ยศธร ทวีพล,และคณะ. (2017). พัฒนาการแห่งศาสตร์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในช่วงการบริหารแยกออกจากการเมืองสู่การจัดการปกครองแนวใหม่ : บทวิเคราะห์ตามกลยุทธ์ Accumulative Model. The Journal of Politics and Governance (JOPAG), 7(3), 211-231.
สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ, & สงคราม สมณวัฒนา. (2022). บทบาทของรัฐที่เปลี่ยนไป : บทวิเคราะห์จากภารกิจการจัดทำบริการสาธารณะกับแนวคิดการจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2(6), 49-64.
อุษณี มงคลพิทักษ์สุข. (2012). แนะนำ หนังสือ การ บริหาร ปกครอง สาธารณะ: การ บริหาร รัฐ กิจ ใน ศตวรรษ ที่ 21 Public Governance. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(3), 175-188.
Dickinson, H. (2016). From new public management to new public governance: The implications for a ‘new public service’. The Three Sector Solution: Delivering public policy in collaboration with not-for-profits and business, 41, 41-60.
Dickinson, H. (2016). From new public management to new public governance: The implications for a ‘new public service’. The Three Sector Solution: Delivering public policy in collaboration with not-for-profits and business, 41-60.
Katsamunska, P. (2016). The concept of governance and public governance theories. Economic alternatives, 2(2), 133-141.
Klijn, E. H., & Koppenjan, J. F. (2000). Public management and policy networks: foundations of a network approach to governance. Public Management an International Journal of Research and Theory, 2(2), 135-158.
Osborne S.P. (2006). The New Public Governance? Public Management Review, 8(3), 377-387.
Osborne, S. P. (2010). Introduction The (New) Public Governance: a suitable case for treatment?. In The new public governance? Routledge.
Rhodes, R. A. W. (1996). The new governance: governing without government. Political studies, 44(4), 652-667.
Torfing, J., & Triantafillou, P. (2013). What’s in a name? Grasping new public governance as a political-administrative system. International review of public administration, 8(2), 9-25.