การพัฒนาทักษะการเล่นวอลเลย์บอลและความมีน้ำใจนักกีฬา โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สันติ วิจักขณาลัญฉ์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับเทคนิค TGT, ทักษะการเล่นวอลเลย์บอล, ความมีน้ำใจนักกีฬา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะ การเล่นวอลเลย์บอล โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์คะแนนผลสัมฤทธิ์ ร้อยละ 80 และผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด 2) ศึกษาความมีน้ำใจนักกีฬา โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค TGT  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเอกศึกษาขอนแก่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วอลเลย์บอล จำนวน 6 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วอลเลย์บอล จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดทักษะการเล่นวอลเลย์บอล โดยทดสอบการปฏิบัติ จำนวน 6 ข้อ และแบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียน 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ,ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการเล่นวอลเลย์บอล ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย  5.09 (คะแนนเต็ม 6) เท่ากับร้อยละ 84.83 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 2. ความมีน้ำใจนักกีฬา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT  สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าพฤติกรรมความมีน้ำใจนักกีฬาอยู่ในระดับดี ( = 4.32, S.D. = 0.16) และพฤติกรรมความมีน้ำใจนักกีฬาในด้านมีความยุติธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.59, S.D. = 0.71) และพฤติกรรมความมีน้ำใจในด้านควบคุมอารมณ์ตนเองได้อยู่ในระดับมาก (   = 4.00, S.D. = 0.72)

References

กรมพลศึกษา. (2534). การทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพการศาสนา.

กรมพลศึกษา

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์

กลุ่มงานวิชาการ โรงเรียนเอกศึกษาขอนแก่น. (2562). รายงานผลการประเมินตนเอง ระดับปฐมวัย. โรงเรียนเอกศึกษาขอนแก่น

จักรี จันทวี. (2563). การพัฒนาแบบฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นวอลเลย์บอล ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ชาตรี พรมพุทธ. (2560). การพัฒนาทักษะการเล่นวอลเลย์บอล (การเล่นลูกสองมือบนการเชต) วิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 1) สาขาวิชาการตลาด. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

ชุติกาญจน์ พลไชย และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการ เสิร์ฟลูก

วอลเลย์บอลมือบนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรู๊ป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประวุฒิ แต้ศิริ. (2561). การพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT (อินเตอร์เน็ต). เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566 จาก

https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=166821

วาสนา คุณอภิสิทธิ์. (2528). วารสารสุขศึกษา พลศึกษาและนันทนาการ, 11(3), 10-11

วาสนา คุณอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วีระชัย พทธิดิลิก. (2547). ระดับทักษะกีฬาวอลเลย์บอลของนักเรียนชาย กลุมโรงเรียนเทศบาลเมืองมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). หลักและวิธีสอนวิชาพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช

ศุภชาติ พุงขาว. (2551). ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สาระพลศึกษา ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่. ใน ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่. เชียงใหม่โรงพิมพ์: แสงศิลป์.

สุพนิต อิทธิวุฒิ. (2555). คุณลักษณะที่เป็นจริงด้านความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษา ปีที่ 6 ในเขตธนบุรี ปีการศึกษา 2554. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ.

กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

เสาวลี แก้วช่วย. (2558). แรงจูงใจของเยาวชนในการเลือกเล่นกรีฑา. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 4(2), 2015).

สโมสรกีฬาจังหวัดขอนแก่น. (2564). สโมสรวอลเลย์บอลขอนแก่นสตาร์(อินเตอร์เน็ต). เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2566 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

อุทัย สงวนพงศ์. (2553). สนุกกับเกม. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31