การจัดทำบริการสาธารณะแบบเครือข่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • สงคราม สมณวัฒนา วิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เดชา พวงงาม วิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการจัดทำบริการสาธารณะแบบเครือข่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภารกิจการจัดทำบริการสาธารณะการดำเนินภารกิจในรูปแบบเครือข่ายการสร้างปฏิสัมพันธ์ภายในเครือข่ายเพื่อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและการมีกิจกรรมที่แลกเปลี่ยนกันเป็นสิ่งสำคัญ ความสำเร็จของการจัดทำบริการสาธารณะแบบเครือข่ายการบริหารจัดการควรเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาองค์การ การออกแบบและสร้างเครือข่ายที่สอดคล้องต่อเป้าหมาย และการพัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นระบบเปิดเชื่อมโยงกัน การจัดทำบริการสาธารณะแบบเครือข่ายจะช่วยปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของรัฐที่หน่วยภาคีผู้แสดงต่างเข้ามามีบทบาทในการสร้างคุณค่าให้แก่รัฐ การสนองตอบประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท พฤติกรรมการแสดงที่ตอบรับต่อการปฏิบัติราชการแบบเครือข่าย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ชัคเซสมีเดีย จำกัด.

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). การบริหารภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย. (อินเตอร์เน็ต). เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2566 จากhttps://www.opdc.go.th/file/reader/S2o2fHwzNjk0fHxmaWxlX3VwbG9hZA

นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อพิจารณาบางประการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

บรูซ กิลลีย์. (2563). โฉมใหม่ของการบริหารภาครัฐในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Alter, C. and Hage, J. (1993). Organization Working Together. California: Newbury Park, CA: Sage.

Boissevain, J. (1974). Friends of Friends: Network, Manipulators and Coalition. Oxford: Basil Blackwell

Kilduff, M. and Tsai, W. (2003). Social Networks and Organization. London: SAGE Publication Ltd., pp. 4-8

Klijn, E.H, B. Steijn, & J. Edelenbos. (2010). The impact of network management on outcomes in governance networks. Public Administration Review, 88(4), 1063-1082

McGuire, M. (2006). Collaborative public management: Assessing what we know and how we know it. Public Administration Review, 66(6), 33-34

Starkey, P. (1997). Networking for Development. IFRTD (The International Forum for Rural Transport and Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31