กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่นที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของบุคลากร กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • กัญจน์ณัฏฐ์ สังข์นาค คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 การมีส่วนร่วม การปฏิบัติงาน บุคลากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
2. วิเคราะห์กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหาร ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และ   3. เสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของบุคลากร ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้แนวคิดและทฤษฎีของ Cohen & Uphoff; อคิน รพีพัฒน์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน  41,732 คน  นำมาคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเปิดตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 380 คน สัมภาษณ์ บุคลากร จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา  การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน การดำเนินกิจกรรมการพัฒนา และการวางแผนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2. ผลการวิเคราะห์กลยุทธ์การนำนโยบายการบริหาร พบว่า ปัจจัยด้านการแพทย์ ด้านกฎหมายและสังคมและ ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ร่วมกันอธิบายการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ร้อยละ 3.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของบุคลากร ต้องประสานงานหน่วยงานหรือองค์กรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนประชาชนขอความร่วมมือในการขับเคลื่อนมาตรการบริหารจัดการ รวมทั้งนี้มาตรการด้านกฎหมายและความรู้ด้านโรคระบาด

References

จิราพร บาริศรี และคณะ. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-2019 (COVID -2019) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6).

ธนกฤต โพธิ์เงินและคณะ.(2565). ความต้องการรับบริการด้านสาธารณะสุขของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 31-49.

นิธิพัฒน์ มีโภคสม. (2551). การสังเคราะห์ข้อมูลระดับความไวของลูกน้ำยุงลายต่อสารทีมีฟอส ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย พ.ศ. 2551–2561. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 7(1).

เปรมา ชาตะพันธุ์. (2563). ประสิทธิผลการให้บริการประชาชนของหน่วยงานในภาครัฐในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กรณีศึกษา สำนักงานเขตคลองเตย. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พอชม ฉวีวัฒน์. (2543). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการ ประชาร่วมใจป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก. เรียกใช้เมื่อ 11 กันยายน 2565 จากhttp://dric.nrct.go.th/direct_fulltext.php?bid=250111

&file=%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1(110-115).pdf

รัตนา เหมือนสิทธิ์. (ม.ป.ป.). การสำรวจลูกน้ำยุงลายของตำบลพุกร่าง. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2543). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สันติวิธีเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2554). การประเมินกลยุทธ์. เรียกใช้เมื่อ 11 กันยายน 2565 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/การประเมินกลยุทธ์.

วิชิต สารกิจ และคณะ. (2553). การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของประชาชน. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.

วิศัลย์ โฆษิตานนท์. (2550). การพัฒนาสำนึกสาธารณะของประชาชนในชุมชนเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สังคม ศุภรัตนกุล. (2547). การรับรู้บทบาทและแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับการปฏิบัติงาน ในการให้บริการหลักในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุขบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยของแก่น.

สำนักโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า. (2562). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019. เรียกใช้เมื่อ 11 กันยายน 2565 จากhttps://ncmc.moph.go.th/home/index/detail/29762

สุปราณี แตงวงษ์, ศากุล ช่างไม้ และศิรเมศร์ โภโค. (2565). พฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล, 71(2).

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชุมชนในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย. นครปฐม: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31