ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณธีวิชญ์ วรชาติตรีจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, หลักการบริหาร, หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2. วิเคราะห์ปัจจัยการบริหารงาน ที่ส่งผลต่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและ 3. เสนอแนวการพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้ทฤษฎีของ Stogdill; หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ปี 2546  ประชากรนำมาคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างเปิดตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้ จำนวน 379 คน  สัมภาษณ์ ข้าราชการจำนวน 15 ท่าน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ด้านไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ด้านมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ ด้านมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ด้านเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ และด้านมีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารงาน พบว่า ปัจจัยด้านความสำเร็จ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านสถานภาพและ ด้านสถานการณ์ ร่วมกันพยากรณ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้ร้อยละ 34.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีต้องจัดโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้กับข้าราชการอย่างสม่ำเสมอและ ต้องการพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงานตลอดเวลา

References

เทอดเกียรติ ไพศาลอัชพงษ์. (2559). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการ, 5(1).

ธนกฤต โพธิ์เงิน. (2556). ปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลมีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี. ใน ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2(2).

นุชจรี วีรพิพัฒน์. (2555). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เบญจา นิลบุตร. (2540).

ภัทรานิษฐ์ สุครีวานัด. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลเสนา อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน ค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.

สุดจิต นิมิตกุล. (2553). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี ในการปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

Stogdill, R. M. (1948). Personal factors associated with leadership: Survey of literature. The Journal of psychology. 25(35).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31