พฤติกรรมทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนบดี แจ่มแจ้ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิทยา สุจริตธนารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางการเมือง, วิถีประชาธิปไตย, พลเมืองในการใช้สิทธิเลือกตั้ง, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับพฤติกรรมทางการเมือง 2. วิเคราะห์ปัจจัยพฤติกรรมทางการเมือง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง และ 3. เสนอแนวทางพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของพลเมือง ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้แนวคิดและทฤษฎีของ พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย ประชากรขนาดกลุ่มตัวอย่างเปิดตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้ จำนวน 400 คน สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15  คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมทางการเมืองโดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านจิตสาธารณะหรือความสำนึกต่อ ประโยชน์สาธารณะในการเลือกตั้ง ด้านความเข้าใจทางการเมืองในระบอบ ประชาธิปไตยในการเลือกตั้ง ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้านคือ ด้านการปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นและระดับชาติในการเลือกตั้ง 2. วิเคราะห์ปัจจัยพฤติกรรมทางการเมือง พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สมัคร ด้านการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร ด้านพรรคการเมือง ด้านนโยบาย ด้านสื่อบุคคล และด้านการรับรู้การสื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ ร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมทางการเมือง ได้ร้อยละ 52.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3. แนวทางพัฒนาพฤติกรรมทางการเมือง ผู้บริหารพรรคต้องคิดค้น สรรหาวิธีการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร ให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงประชาชนอย่างถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว ทันสมัยและตรวจสอบได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน

 

References

ธิดารัตน์ ชวรัตน์สกุลกิจ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณี ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารการเมือง วิทยาลัยสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

เบญจพร อาจวิชัย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกริก.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และคณะ. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออก. ใน วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพบูลย์ บุตรเลียบ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดสมุทรสาคร. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

โยธิน บัวทอง. (2553). พฤติกรรมของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลตําบลม่วงสามสิบ อําเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วิกิพีเดีย. (2561). ประชากรในกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 13 ตุลาคม 2565 จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. เรียกใช้เมื่อ 13 ตุลาคม 2565 จากhttps://web.parliament.go.th/view/1/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3/TH-TH

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31