แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ทิพย์ธัญญา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุชาต อดุลย์บุตร มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, สังคมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3) ศึกษาปัจจัยการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อการเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จำนวน 387 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควต้า และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และ วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในภาพรวม ด้านการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการมีส่วนร่วมในจัดกิจกรรมทางสังคม ด้านการอำนวยความสะดวกด้านบริการและการให้คำแนะนำ ปรึกษา และด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 4) แนวการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า หน่วยงานควรจัดให้มีแพทย์มาตรวจสุขภาพและควรจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อเข้าไปเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ควรจัดกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ควรจัดชมรมผู้สูงอายุ หรือโรงเรียนสำหรับผู้สูงอายุ และควรมีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2566 จาก http://www.dop.go.th.

ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และ กันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25-36.

ณัทกวี ศิริรัตน์ และคณะ. (2566). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(1), 325-343.

พรนภา สมสกุล. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุตามนโยบายของรัฐบาลในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

พระธนพล กนตสิโล(เรือนเพ็ชร์).(2561).การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช). (2565). ผู้สูงอายุไทยต้องปรับตัวอย่างไร? เพื่อพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Active Aging). เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.nxpo.or.th/th/8078/.

เสมอ จัดพล. (2556). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 510-519.

Marketeer Team. (2022). สถิติผู้สูงอายุไทยปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 จาก https://marketeeronline.co/archives/272771.

WHOQOL Group. (1996). What quality of life? World Health Organization Quality of Life Assessment. World Health Forum, 17, 354–356.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31