แนวทางส่งเสริมความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ ในศาลสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ภาค 7

ผู้แต่ง

  • ชไมพร เจริญอินทร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • พิเศษ ชัยดิเรก มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความต้องการ, การพัฒนาตนเอง, เจ้าหน้าที่ธุรการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ 2. ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ 3. ศึกษาปัจจัยจูงใจ ที่ส่งผลต่อความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ 4. ศึกษาแนวทางส่งเสริมความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ในศาลสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรม ภาค 7 จาก 22 หน่วยงาน จำนวน 276 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควต้า และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ 3. ปัจจัยจูงใจ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
มีความสัมพันธ์ที่ระดับ 0.01 และ 4. แนวทางส่งเสริมความต้องการในการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ธุรการ พบว่า ควรเพิ่มทุนการศึกษาให้มากขึ้น ควรให้แต่ละหน่วยงานจัดฝึกอบรม
ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในรูปแบบการสร้างปฏิสัมพันธ์ ควรปลูกฝังบุคลากรให้มีกรอบความคิด ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ให้มีคุณลักษณะในการเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และพัฒนา

References

กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชา 9011106 การบริหารทรัพยากรมนุษย์. นครปฐม: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จิตติมาภรณ์ ศิริวิสูตร. (2562). แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 5. เรียกใช้เมื่อ 27 พฤษภาคม 2566 จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-5-14_1599638030.pdf.

ณัฎฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ. (2561). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 261-266.

เนตรนภา ศรีมหาโพธิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองในองค์กรดิจิทัลของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2566 จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2564_1649668936_6314830003.pdf.

พรพรรณ พูวัฒนาธนสิน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่แจ้งวัฒนะ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 290-305.

พัชรินทร์ สังข์ทอง. (2563). ศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพข้าราชการศาลยุติธรรม : กรณีศึกษาสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 9 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2566 จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-6_1630165950.pdf.

วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2562). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

สดใส เลิศเดช. (2562). การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 276-287.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2564). มาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการศาลยุติธรรม. สำนักคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม. เรียกใช้เมื่อ 23 พฤษภาคม 2566 จาก

https://ojoc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/7339/cid/63/iid/264904.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2564). คู่มือการพัฒนาบุคลากรศาลยุติธรรมตามแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2563-2565. เรียกใช้เมื่อ 28 พฤษภาคม 2566 จาก

https://ojoc.coj.go.th/th/file/get/file/20210901712fd5957b0ebe8837b068e78ade3dd3163650.pdf.

Nadler, L. & Wiggs, G. D. (1989). Managing human resources development. San Francisco, California: Jossey-Bass.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore: Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31