แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการฝ่ายทะเบียนและบัตร ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร นิลยาภรณ์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุชาต อดุลย์บุตร มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ระบบราชการ 4.0, ฝ่ายทะเบียนและบัตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตร 2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตร 3) ศึกษาระบบราชการ 4.0 ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตร 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอชะอำ จำนวน 398 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควต้า และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการด้านฝ่ายทะเบียนและบัตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการด้านฝ่ายทะเบียนและบัตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระบบราชการ 4.0 ด้านเปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ด้านยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้านมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพการให้บริการด้านฝ่ายทะเบียนและบัตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 4) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายทะเบียนและบัตรภายใต้ระบบราชการ 4.0 พบว่า หน่วยงานควรให้บริการประชาชนทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ รวดเร็วและตรงเวลา เปิดบริการในช่วงพักเที่ยงแบบศูนย์ราชการสะดวก จัดบุคลากรและเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ ควรนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการ

References

กรพจน์ อัศวินวิจิตร. (2559). หลักนิติธรรมกับการบริการสาธารณะของรัฐ. ใน รายงานหลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2560). ระบบราชการ 4.0 กับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2565 จาก https://www.dpe.go.th/manual-files-401291791810.

ภัทรธิดา รัตนจิตรานนท์ และกิตติพงษ์ เกียรติวิชรชัย. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในยุคปกติวิถีใหม่. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 154-169.

ศรินทิพย์ อรุณสวัสดิ์ฤกษ์ และคณะ. (2564). ประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(4), 732-745.

สำนักงาน ก.พ. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. เรียกใช้เมื่อ 16 ธันวาคม 2565 จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.). (2565). บทบาทหน้าที่ของที่ทำการปกครองอำเภอ. เรียกใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2565 จาก

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER35/DRAWER017/GENERAL/DATA0000/00000002.HTM.

สำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. (2562). ข้อมูลพื้นฐานอำเภอสำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม. นครพนม: สำนักทะเบียนอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม.

อิสระพงศ์ กุลนรัตน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ของเทศบาลนครอุดรธานี. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(1), 37-48.

Millet, J. D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31