แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • แพว พานแพน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • สุชาต อดุลย์บุตร มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 4) ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรในสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร จำนวน 204 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควต้า และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางสติปัญญา ความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 4) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามหลักภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่า หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับบุคลากรด้วยการอบรมให้ความรู้พนักงานทุกคนให้เท่าเทียมกัน ควรมีมาตรฐานขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ควรให้แต่ละฝ่าย จัดทำแผนกำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บริหาร ควรมีการกำหนดแผนผังแสดงกระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน พร้อมกรอบระยะเวลาการปฏิบัติงาน ควรนำแนวคิดการประเมินผลสัมฤทธิ์และการประเมินความคุ้มค่ามาใช้ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนงาน

References

กฤษยา เพชรฤทธิ์. (2559). ผลงานประกอบพิจารณาประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายบริหารงานทั่วไปสำนักงานการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมสำนักพัฒนาสังคม.

บวรรัฐ มาเจริญ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2563). ความคิดเห็นของบุคลากรหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 90-100.

พิจักษณา วงศาโรจน์. (2557). ภาวะผู้นําของผู้บริหารที่พึงประสงค์: กรณีศึกษา กรมกําลงพลทหารบก. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

แพรวพรรณ ไพฑูรย์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้จัดการสาขา บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน). เรียกใช้เมื่อ 11 ธันวาคม 2565 จาก http://ir.sru.ac.th/bitstream/123456789/867/1/is64_preawpun-mba.pdf.

สิรินภา ทาระนัด. (2561). การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. (2564). คู่มือการปฏิบัติงานกองนโยบายและแผนงานสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร.

Mohsen, A. & Mohammad, R. D. (2011). Considering Transformational Leadership Model in Branches of Tehran Social Security Organization. Social and Behavioral Sciences, 15 (2011), 3,131-3,137.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, ILL: Richard D. Irwin.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31