แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนพื้นที่บริเวณรอบเหมืองหิน ของตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การมีส่วนร่วม, การพัฒนาชุมชน, เหมืองหินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนพื้นที่บริเวณรอบเหมืองหิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชาชนรอบเหมืองหิน ของตำบลหาดขาม จำนวน 334 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควต้า และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคลในภาพรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านวิถีชีวิตของประชาชน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านความผูกพันต่อชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ระดับ 0.01 และด้านผู้นำชุมชน มีความสัมพันธ์ที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน พบว่า ควรรับฟังเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆ ของประชาชน ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาเป็นอาสาสมัครช่วยกันพัฒนาชุมชนด้วยความสมัครใจ ควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงต่อไป
References
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.). (2560). กพร. ขับเคลื่อนการทำเหมืองแร่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสร้างประโยชน์ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.dpim.go.th//purchase/article?catid=237&articleid=8316.
กัมปนาท ทองดอนใหม่. (2563). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปีขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
จิราภรณ์ มณี. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ดวงฤทธิ์เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง สมชาย รัตนภูมิภิญโญ วิชิต บุญสนอง อนุวัต กระสังข์ และณัฐวรรณ สาสิงห์. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 113-128.
เนติมา ชูศร. (2564). การพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ในองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิเทศศึกษา, 11(2), 307-331.
ศศิวิมล เนตรสว่าง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). บทความ เมื่อเหมืองแร่กับชุมชนอยู่ร่วมกัน กรณีศึกษาตำบลหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี โดย เฉลิมวุฒิ อุตโน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กลุ่มงานติดตามประเมินสถานการณ์ กองติดตามประเมินผลสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. เรียกใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 จาก http://env_data.onep.go.th/blogs/subject/view/17.
อริสรา หงษาชุม และราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2566). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารพัฒนาชุมชนเขตพื้นที่บ้านยกกระบัตร ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(1), 99-109.
Cohen J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation : concept and measure for project design. implementation and evaluation. New York: Cornell University.
Department of Primary Industries and Mines. (2010). Sustainable development and the mining industry. Book of Providence, 8(3), (February - March).
Mcu. Online. (2017). From five precepts village to being model of Chosaart village. Retrieved May 2023, From http: / /www.mcu.ac.th/site/articleconten tarticle.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.