การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ภายใต้ระบบราชการ 4.0 ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลนายาง จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, บริการสาธารณะ, การจัดการภาครัฐแนวใหม่, ระบบราชการ 4.0บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะ
2) ลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการสาธารณะ 3) ศึกษาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะ 4) ศึกษาระบบราชการ 4.0 ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลนายาง และประชาชนในพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลนายาง จำนวน 511 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควต้า และแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการสาธารณะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 0.01 ตามลำดับ 3) การจัดการภาครัฐแนวใหม่ ด้านการจัดการแบบมืออาชีพ ด้านการให้ความสำคัญกับการแข่งขัน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพการให้บริการสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านการใช้รูปแบบการจัดการจากภาคเอกชน มีความสัมพันธ์ ที่ระดับ 0.01 ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการใช้ทรัพยากรอย่างก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีความสัมพันธ์ที่ระดับ 0.05 และ 4) ระบบราชการ 4.0 ในภาพรวม ด้านเปิดกว้างและเชื่อมโยง ด้านยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ด้านมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับคุณภาพการให้บริการสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
References
ชาญชัยจิตรเหล่าอาพร. (2552). การบริหารจัดการงานท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชาญธิวัฒน์ กิจสวัสดิ์. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 338-353.
ธนากร สุระขันธ์. (2558). การปฏิรูประบบราชการตามหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.
ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล. (2565). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีผลต่อการปฏิรูประบบราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(48), 459-476.
รุสนี กีโต๊ะ, นัฟซะห์ เจ๊ะมะ, มูฮำมัดฟีซัน สะมะแอ และศรินทร์ญา จังจริง. (2566). ความต้องการของประชาชนต่อการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลซากออำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14.
สุนารี สุกิจปาณีนิจ ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน และโสภาพร กล่ำสกุล. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University Humanities, Social Sciences and arts, 12(5), 1,157-1,172.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.). (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. (Online). เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก
https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf.
อิสระพงศ์ กุลนรัตน และธนวิทย์บุตรอุดม. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นระบบราชการ 4.0 ของเทศบาลนครอุดรธานี. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 9(1), 37-48
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL : A multiple item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Marketing, 64(15), 12-40.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.