รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การ ของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 เพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วีระศักดิ์ โลกนุเคราะห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • โสภาพร กลํ่าสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา; การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์; วัฒนธรรมองค์การ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และวัฒนธรรมองค์การ 2. ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การ และ
3. สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 เพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 เพชรบุรี จำนวน 73 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 4 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยเชิงพหุ และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และวัฒนธรรมองค์การ อยู่ในระดับมากที่สุด 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนา มีผลต่อวัฒนธรรมองค์การของกลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานที่ 3 เพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การ คือ การมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการศึกษา และการพัฒนา ทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยมุ่งเน้นวัฒนธรรมองค์กรแบบผสมผสานและนำจุดเด่นของแต่ละวัฒนธรรมองค์กร อันประกอบไปด้วย วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ วัฒนธรรมแบบราชการ วัฒนธรรมแบบเครือญาติ และวัฒนธรรมแบบเน้นการปรับตัว มาเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดแผนงาน/ทิศทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดเป็นรูปธรรม

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2563). กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ที่ 1-15. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2565 จาก https://www.m-culture.go.th/funeral/ewt_news.php?nid=315.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2563). กลุ่มอำนวยการพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน ที่ 3 เพชรบุรี จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างบุคลิกภาพ และพัฒนาทักษะความชำนาญการปฏิบัติงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ค่ายศรียานนท์ จังหวัดเพชรบุรี. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2565 จาก

https://www.m-culture.go.th/funeral/ewt_news.php?nid=690&filename=index.

เจตน์สฤษฎิ์ วินัยธรรม และ ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2564). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของ ข้าราชการครู สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(4), 43-52.

บุศรารัตน์ บัวงาม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ความผูกพันต่อ องค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มล้ม จังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจวรรณ พงษ์พันธ์. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของศาลแพ่งพระโขนง และศาลอาญาพระโขนง. ใน ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ประกอบ คงยะมาศ เกรียงศักดิ์ แก้วนาค และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2562). วัฒนธรรมองค์การและการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(3), 16-31

วิทยา พยัคฆันตร และ เสรี ชัดแช้ม. (2564). การรับรู้วัฒนธรรมองค์การต่อผลการปฏิบัติงานขององค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(1), 143-160.

สกนธ์ ดำสาคร และคณะ. (2562). การพัฒนาทุนมนุษย์ของกองบัญชาการในสังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 72-84.

สมาพร ภูวิจิตร. (2558). รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพ. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 9(1), 73-77.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2559). รูปแบบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในองค์การ. วารสารราชนครินทร์., 287-291.

Daft, R. L. (2001). Essentials of Organization: Theory and Design. Ohio: South–Western College.

Daft, R. L. (1999). Leadership theory and practice. Forth Worth, TX: The Dryden Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31