การตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชน ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ประชาชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 150,015 คนโดยนำมาคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างวิธีการเปิดตารางของ เครจซี่และมอร์แกน ได้ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม นำไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรม ด้านเชิงสัญลักษณ์ ด้านเทคนิค และด้านมนุษยสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ รายได้ต่อเดือนและสถานภาพ ต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
จักรพันธุ์ มิตรผักแว่น. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรณีศึกษา การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเลือกตั้งที่ 16 กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2548. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธิดารัตน์ ชวรัตน์สกุลกิจ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณี ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จังหวัดเชียงใหม่. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
เบญจพร อาจวิชัย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม : ศึกษากรณีการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ปิยะรัตน์ สนแจ้ง, (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผ้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2559. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
ไพบูลย์ บุตรเลียบ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดสมุทรสาคร : ศึกษาในห้วงเวลาปี 2557. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
มงคล รัตนพันธ์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดรัฐสภา
Krejcie,R.V. and Morgan,D W. (1970). Determination Sample Size for Research Activities. Education and Psychology Measurement,31(10),607-610.