วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนไทยในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุทธินันท์ สุวรรณวิจิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สรรเสริญ อินทรรันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนกฤต โพธิ์เงิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สมนึก สอนเนย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • เตือนใจ ผาสุก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมือง, ประชาธิปไตย, เทศบาลตำบลบ้านกลาง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง 2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 11,831 คน โดยนำมาคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างวิธีการเปิดตารางของ เครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม นำไปหาค่าความเชื่อมั่นได้ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านการศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านการเคารพกติกาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ด้านการมีความสำนึกในหน้าที่พลเมือง ด้านการมองโลกในแง่ดี ด้านการยึดมั่นหลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคล                    ด้านการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล และด้านการไม่มีจิตใจเป็นเผด็จการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนต่างกันมีความคิดเห็น โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

References

เกศินี แตปูซู. (2553). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของชาวไทยมุสลิมในเทศบาลเบตง จังหวัดยะลา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นุช หวังสุข .(2559). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย กรณีศึกษาคณะครูโรงเรียนบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรอัมรินทร์ พรมเกิด. (2557). กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคาบงละหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์.

สำราญ ทองสิงห์คลี. (2555). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของพนักงานส่วนตำบล อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฏร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุดม พิริยะสิงห์. (2529). การเมืองเบื้องต้น. มหาสารคาม: ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาทิตย์ ชูชัย. (2556). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของมหามงกุฎราชวิทยาลัย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิวัฒน์ พลสยม. (2529). วัฒนธรรมทางการเมืองข้าราชการระดับอำเภอ : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โอภาส แย้มศรี. (2553). วัฒนธรรมทางการเมืองของกลุ่มผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเฉพาะชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณะสุข 57 กรุงเทพมหานคร. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุไรวรรณ ธนสถิต. (2549). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. เรียกใช้เมื่อ 3 สิงหาคม 2566 จาก www.kmutt.ac.th.

Krejcie,R.V.& Morgan,D W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement,31(10), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31