การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ED1028 วิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RASEP Model ร่วมกับทักษะการคิดแก้ปัญหา

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • บัญชา ธรรมบุตร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • สุวิทย์ สารเงิน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

วรรณกรรมไทย, การจัดการเรียนรู้แบบ RASEP MODEL, ทักษะการคิดแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรายวิชา ED1028 วิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ED1028 วิเคราะห์วรรณกรรมไทยร่วมสมัย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RASEP Model ร่วมกับทักษะการคิดแก้ปัญหา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวงจรปฏิบัติการ 3 วงจร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จำนวน 52 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำแนกตามลักษณะของการใช้ 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ

          ผลการวิจัยดังนี้ 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RASEP Model ร่วมกับทักษะการคิดแก้ปัญหา พบว่า สามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างได้อย่างเหมาะสมและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข 2) ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านเกณฑ์รอบรู้ คิดเฉลี่ยเป็นร้อยละ 90.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ RASEP Model ร่วมกับทักษะการคิดแก้ปัญหา ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0 กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สุภาพร เตวิยะ. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเชื่อมั่นในตนเองของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,16(1), 122 – 134.

สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

อภินันท์ นนฺทภาณี (คำหารพล) และคณะ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สาระหน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1148 – 1160.

อรรถพงษ์ ผิวเหลือง. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ RASEP Model. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(1),19 – 26.

อรรถพงษ์ ผิวเหลืองและพระครูวินัยธรวรชัด. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้โดยการกระทำ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), 21 – 30.

Dewey, John. (1950). How we Think. Lexington D.C.: Heath and Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31