การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการเขียน เพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 โดยใช้แนวคิดเน้นภาระงาน (Task-Based Learning)

ผู้แต่ง

  • อรรถพงษ์ ผิวเหลือง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • บัญชา เกียรติจรุงพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • แมนมิตร อาจหาญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การเขียนเพื่อการสื่อสาร, กิจกรรม, การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเน้นภาระงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเพื่อการสื่อสาร ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทยชั้นปีที่ 2 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเน้นภาระงาน (TBL) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

 

ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความสามารถด้านการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ( = 20.20, S.D. = 0.55) และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ( = 25.50, S.D. = 0.65) แสดงให้เห็นว่าความสามารถด้านการเขียนเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเน้นภาระงาน (Task-Based Learning) โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.73)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2546). เทคโนโลยีการศึกษาและทฤษฎีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ภากิตติ์ ตรีสุกล. (2549). การสื่อสารระหว่างบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องความน่าจะเป็น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.

สมบัติ ศิริจันดา. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็น เพรส.

โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

Bonwell, C. and Eison, J. Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Clearinghouse on Higher Education Washington DC, ERIC Identifier: ED340272.1991.

Candlin, C. (1987). Toward task-based language learning. In C. Candlin, & D. Murphy (Eds.) (pp. 5 – 22), language learning tasks. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Nation, P. (1990). A system of tasks for language learning. In S. Arivan (Eds.), Singapore: SEAMEO Regional Language Centre.

Nunan, D. (1989). Designing tasks for the communicative classroom. Cambridge: Cambridge University Press.

Paulston, C. B. (1979). Teaching English as a second language technique and procedure. Cambridge: Winthrop publisher.

Phabhu, N. S. (1987). Second Language Pedagogy. Oxford: oxford University Press.

Richards, J. (2001). Curriculum Development in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31