การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า โดยให้ความสำคัญกับการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ด้วยการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาที่ใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับการศึกษา รวมถึงจัดกิจกรรมเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 พัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการที่เน้นการลงมือปฏิบัติ มีการสะท้อนความคิด ทบทวนไตร่ตรอง พัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนได้ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้สร้างรายได้ รวมถึงมีทักษะด้านวิชาชีพและทักษะชีวิต การเปลี่ยนโฉมบทบาท “ครู” ให้เป็นครูยุคใหม่ โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนสามารถทำได้ โดยการผสานความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาต่าง ๆ จนเกิดความสำเร็จ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สอดคล้องกับการทำงานของสมอง การมีส่วนร่วม การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม ที่ได้ผ่านการปฏิบัติจริง ครูผู้สอนต้องเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21
References
จิรภา อรรถพร. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริม พฤติกรรมการเรียนรู้ ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 122-136
จิราภรณ์ ยกอินทร์. (2560). การจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ดุษฎี โยเหลาและคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBLที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้าง เสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธ.
ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: CIPPA MODEL วารสารวิชาการ, 5(2).
นิพพิทา กุลชิต. (2562). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอน ภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. ในดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.
บุหงา วัฒนะ. (2546). Active Learning. วารสารวิชาการ, 1(1), 30-34.
ไผท สิทธิสุนทร. (2543). การเรียนรู้แบบ 4 MAT. สานปฏิรูป, 24.
มนัส บุญประกอบและคณะ. (2543). รายงานการวิจัยฉบับที่ 80 การวิจัยและพัฒนาเทคนิค การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทางยกระดับคุณภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียน
การสอน, 2(2), 12-15.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศ
เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบาย
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการศึกษา. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก: ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สกศ.
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และนธี เหมมันต์. (2560). สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2561). วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนเอกชน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(3),3
Bonwell, C.C.; & Eison.J. A. (1991). Active Learning: Creative Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Reports No. 1. Washington, D.C
Bloom, Benjamin S. (1976).Taxonomy of Education Objective, Handbook I : Cognitive .Domain. NewYork : David Mckay.Cook,T.D. and T. Donald Campbell.
Ewell, P. T. (1997). Organizing for Learning: A New Imperative. Retrieved from http://www.aahea.org/articles/ewell.htm
Fink, L. D. (2003). Creating Significant Learning Experiences: An Integrated Approach to Designing College Courses. San Francisco: Jossey-Bass.
Johnson, D.W.; Johnson, R.T. and Smith, K. A. 1991. “Cooperative Learing Increasing College Faculty Instructional Productivity”, Higher Education Report No.4. Washington D.C.:The George Washington University.
Meyers, C.; & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for theCollege Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.
Shenker, J.I.;Goss, S. A; & Bernstein, D.A. (1996). Instructor’s Resource Manual for
Psychology: Implementing Acting Learning in the Classroom. RetrievedSeptember 22, 2011, from http://s.psych/uiuc,edu/-jskenker/active.html.