การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วน ตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กชมน บุศย์จันทร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • พชร สาตร์เงิน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การบริหาร, หลักธรรมาภิบาล, อบต.วังจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลระหว่างหลักธรรมาภิบาลกับการบริหารงาน 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ จำนวน 380 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควตา และแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว การถดถอยเชิงพหุ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับมาก 2) เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานภาพ มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแตกต่างกัน 3) หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการบริหารงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมภิบาล พบว่า ควรมีการวางแผนงานต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ควรมีการจัดองค์กรโดยยึดหลักตามสายการบังคับบัญชา ควรมีการปฏิบัติงานตามอำนาจการสั่งการของผู้บริหาร ควรมีการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้บริการประชาชน ควรมีการกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน หรือแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้

References

กิตติ์รวี เลขะกุล. (2561). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของ เทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. ใน ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ขวัญเรือน เถื่อนแถว. (2559). ประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นิภาพรรณ ผิวอ่อน. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม. (2564). การกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 29-43.

ไพโรจน์ เชิดฉิ่ง (2560). การบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

ยงยุทธ คุ้มญาติ (2559). ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.govesite.com/praluang/content.php?cid=20170704112821X994KHr.

รมณีย์ วงษา. (2559). สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาธิบาลของพนักงานส่วนตำบลองค์กรบริหาร ส่วนตำบลในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(1), 17-24.

วันทินี ภูธรรมะ (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ใน ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศุภกานต์ วงศ์เณร (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสภาเกษตรกรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). โครงการศึกษาวิจัยกรอบแนวคิดและกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนาดัชนีชี้วัดด้านหลักนิติธรรม/นิติรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สุมาลี สีหะคลัง (2559). ประสิทธิผลของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนในอำเภอเข้าย้อย จังหวัดเพชรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

Fayol, H. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore: Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31