แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • นยนาวุธ แก้วสนิท มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • พชร สาตร์เงิน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, กระบวนการนโยบายสาธารณะ, อบต.วังจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) ศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ จำนวน 380 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบโควตา และแบบบังเอิญ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การถดถอยเชิงพหุ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดย การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชน อยู่ในระดับมาก 2) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพ และระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ระดับ 0.001 และรายได้ต่อเดือน ที่ระดับ 0.01 3) ปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความผูกพันต่อชุมชน ด้านผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล ด้านการสื่อสาร และด้านวิถีชีวิตของประชาชน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ระดับ 0.001 และ 4) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผล ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนโยบายสาธารณะ จัดโครงการประชาคม เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น

References

กิตติชัย ปญฺญาธโร. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กิตติชัย แก้วดำ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ของเทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมืองจังหวัดสตูล. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จำลอง บุตรจันทร์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในแผนพัฒนาสามปีขอองค์การบริหารส่วนตำบลพุสวรรค์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ธนวุฒิ บัวคลี่. (2564). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี.ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

นาถนภา กอบวิยะกรณ์. (2560).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ปิยะมาศ สินธุพาชี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมงกุฎทักษิณ, 1(1), 20-38.

พชร สาตร์เงิน. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ลัดดาวรรณ นนปะติ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์.(2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารปกครอง, 5(2), 289-305.

Cohen J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation: concept and meaures for project design. Implementation and evaluation. New York: Cornell University

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. Singapore : Harper International Editor.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31